Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2743
Title: การศึกษาความเป็นไปได้โครงการลงทุนซื้อเครื่องปั่นน้ำยางความเร็วสูงในโรงงานผลิตถุงยางอนามัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: Feasibility study of centrifuge machine investment project in condom manufacturing of Suratthani Province
Authors: สุภาสินี ตันติศรีสุข
สุเมธ ดอนวิรัตน์, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงงานผลิตถุงยางอนามัย--การลงทุน
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านตลาดของโครงการ ลงทุนซื้อเครื่องปั่นน้ำยางความเร็วสูงในโรงงานผลิตลุงยางอนามัยจังหวัดราษฎร์ธานี (2) ศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคของโครงการลงทุนซื้อเครื่องปั่นนํ้ายางความเร็วสูงในโรงงานผลิตถุงยางอนามัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี (3) ศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงินของโครงการลงทุนซื้อเครื่องปั่นนํ้ายางความเร็วสูงในโรงงานผลิตถุงยางอนามัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี (4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของโครงการลงทุนซื้อเครื่องปั่นนํ้ายางความเร็วสูงในโรงงานผลิตถุงยางอนามัยจังหวัดสุราษฎร์ธานีวิธีการศึกษา การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านตลาดและด้านเทคนิค ปัญหาและอุปสรรคเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ส่วนการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงินเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้หลักการวิเคราะห์ต้นทุน – ผลตอบแทนแบบคิดค่าปัจจุบันของเงิน คือ มูลค่าปัจจุบันสูทธิ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน และอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการผลการศึกษาพบว่า (1) ความเป็นไปได้ทางด้านตลาดมีความเป็นไปได้เนื่องจากถุงยางอนามัยมีความสำคัญต่อการวางแผนครอบครัวและป้องกันการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยมีความต้องการซื้อจากต่างประเทศ 72% หรือปริมาณ 432 ล้านชิ้นต่อปีและความต้องการซื้อในประเทศ 28% หรือปริมาณ 168 ล้านชิ้นต่อปื เครื่องปั่นนํ้ายางความเร็วสูงจึงมีอุปสงค์ต่อเนื่องของกระบวนการผลิตถุงยางอนามัย (2) ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคมีความเป็นไปได้ซื่งมีความเหมาะสมทางด้านสถานที่ตั้งและกระบวนการผลิต โดยจัดซื้อเครื่องปั่นนํ้ายางความเร็วสูงพร้อมอุปกรณ์และบริการเสริมต่างๆ จากประเทศเยอรมันรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,168,700.00 บาท (3) ความเป็นไปได้ทางด้านการเงินมีความเป็นไปได้เมื่อวิเคราะห์โดยใช้อัตราคิดลดร้อยละ 8 มูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 68.981 ล้านบาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 1.45 อัตราผลตอบแทนภายในโครงการเท่ากับร้อยละ 26.72 มี ค่ามากกว่าค่าเสียโอกาสของทุนซื่งมีค่าเท่ากับร้อยละ 8 โครงการนี้จึงมีความคุ้มค่าในการลงทุน (4) ปัญหาสำคัญจากความล่าช้าในการขนส่ง อะไหล่ อุปกรณ์ เพื่อการซ่อมบำรุงเพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และอุปสรรคที่เกิดจากความผันผวนของค่าเงินตราต่างประเทศที่มีผลต่อการวางแผนการตั้งงบประมาณการสั่งซื้อและควบคุมยอดคงเหลือของชุดอะไหล่ อุปกรณ์ เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2743
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
139678.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.85 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons