กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2750
ชื่อเรื่อง: ความยากจนและการกระจายรายได้ : กรณีศึกษา บ้านวัดมะปริง ตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Poverty and income distribution : a case study of Ban Watmapring Tambon Watpradoo, Muang District, Suratthani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริพร สัจจานันท์
โสภิดา เนตรพุกกณะ, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความจน--ไทย--สุราษฎร์ธานี
การกระจายรายได้--ไทย--สุราษฎร์ธานี
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะสัดส่วนคนจนและศึกษาภูมิหลัง และปัจจัยการกระจายรายได้ของครัวเรือนในพื้นที่ บ้านวัดมะปริง ตำบลวัดประดู่ อำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปรียบเทียบกับข้อมูลระดับประเทศ จังหวัด และภาค 2) เปรียบเทียบลักษณะ สัดส่วนคนจนและการกระจายรายได้ของครัวเรือนระหว่างพื้นที่กรณีศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานีกับทั้งประเทศเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือแบบสอบถามจากกลุ่มประชากรตัวอย่างจำนวน100 ครัวเรือน จาก 186 ครัวเรือน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2554 โดยการศึกษาความยากจนใช้เกณฑ์สัดส่วนคนจนด้านรายจ่ายของครัวเรือนที่มีรายจ่ายต่ำกว่าเส้นความยากจน ส่วนการศึกษาการกระจายรายได้ใช้เกณฑ์สัดส่วนรายได้ - รายจ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคของครัวเรือน และค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค เป็นเครื่องมือในการวัดความไม่เท่าเทียมกัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ประชากรในพื้นที่ศึกษาไม่อยู่ในเกณฑ์ความยากจน ในขณะที่ สัดส่วนคนจนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ที่ร้อยละ 0.34 ภาคใต้ร้อยละ 4.72 และทั้งประเทศ 8.12 ส่วนการกระจายรายได้พื้นที่กรณีศึกษา มีประชากรที่เปรียบเทียบสัดส่วนรายได้ของกลุ่มตัวอย่างที่ถือครองรายได้สูงสุดกับกลุ่มตัวอย่างที่ถือครองรายได้น้อยที่สุดเป็น 7.59 เท่า ในขณะที่สัดส่วนใน ระดับประเทศเป็น 11.31 เท่า ทั้งนี้รายได้ครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับจำนวนที่ดินที่ครอบครองอาศัยและการประกอบอาชีพ ส่วนสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคของพื้นที่กรณีศึกษาอยู่ที่ 0.437 ในระดับประเทศมีค่า 0.485 2) เปรียบเทียบสัดส่วนรายจ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคของพื้นที่กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีรายจ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคสูงสุด กับกลุ่มตัวอย่างที่มีรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคน้อยที่สุดเป็น 6.77 เท่า ในขณะที่ในระดับประเทศเป็น 6.97 เท่า และสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคของพื้นที่ศึกษาอยู่ที่ 0.391 ในขณะที่ในระดับประเทศมีค่า 0.396
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2750
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
123495.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons