Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2753
Title: การศึกษากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์จักสานของกลุ่มอาชีพในจังหวัดอ่างทอง
Other Titles: An analysis on basket product marketing strategy of occupational group in Angthong Province
Authors: ปัญญา หิรัญรัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปราโมช ชูพินิจ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เครื่องจักสาน--ไทย--อ่างทอง
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
การจัดการตลาด
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นควัาอิสระเรื่องการศึกษากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์จักสานของกลุ่ม อาชีพในจังหวัดอ่างทอง มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จักสาน ในจังหวัดอ่างทอง (2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์จักสานของกลุ่มอาชีพในจังหวัด อ่างทอง และ (3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในด้านกลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์จักสานของ กลุ่มอาชีพในจังหวัดอ่างทอง วิธีการศึกษาค้นควัาอิสระในครั้งนี้ผู้วิจัยใด้ทำการศึกษา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐม ภูมิ และสอบถามอย่างใม่เป็นทางการจากคณะกรรมการดำเนินการผลิตภัณฑ์จักสานของกลุ่ม อาชีพในจังหวัดอ่างทอง และข้อมูลทุติยภูมิ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแผนธุรกิจกลุ่มอาชีพ ตำรา เอกสารทางวิชาการ กลยุทธ์การตลาดของกลุ่มอาชีพ และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งเป็น ข้อมูลทั่วไปของสหกรณ์ การศึกษากลยุทธ์การตลาดของกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จักสาน และการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จักสาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จักสานในจังหวัดอ่างทอง มีการดำเนินธุรกิจ โดยเน้นกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ กลุ่มอาชีพมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีการ ส่งเสริมการจำหน่ายหลาย ๆ รูปแบบ ได้แก่ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุ สิ่งพิมพ์การจัดทำ แคตตาล็อกจำหน่ายสินค้า การทำนามบัตร การขายทางเว็บไซต์ และมีช่องทางในการจำหน่าย สินค้าที่เหมาะสม มีผลการดำเนินงานยัอนหลัง 3 ปี มีผลกำไรเพื่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ก็ยังประสบ ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจผลการดำเนินงานจึงมีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น ทำให้กำไรลดลงในบางกลุ่ม จากที่เคยส่งต่างประเทศได้ก็มียอดขายลดลง บางเดือนส่งขายไม่ได้เลย แต่กลุ่มอาชีพก็ยังได้รับ แนะนำการส่งเสริมด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางการจำหน่ายจากภาครัฐหลายหน่วยงาน ทำให้กลุ่มอาชีพในจังหวัดอ่างทองมีโอกาสในการพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพึ่มมากขึ้น ซึ่งกลุ่ม อาชีพในจังหวัดอ่างทองยังไม่มีการกำหนดกลยุทธ์ด้านราคาเนื่องจากไม่สามารถลดต้นทุนการผลิต ลงได้จึงทำให้ไม่สามารถขายให้ได้กำไรเท่ากับของคู่แข่งขัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2753
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
129434.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.39 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons