Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2762
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุภาสินี ตันติศรีสุข | th_TH |
dc.contributor.author | ชาญชัย เจริญทองกุล, 2509- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-01-19T08:05:25Z | - |
dc.date.available | 2023-01-19T08:05:25Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2762 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องความสามารถในการแข่งขันของ อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย โดยการใช้ดัชนีความได้เปรียบสัมพัทธ์ที่ปรากฏ (Revealed Comparative Advantage Index; RCA) เป็นเครื่องมือในการศึกษา พบว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยรวมของไทยไม่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในตลาดโลก แต่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบเพิ่มขึ้นมาตามลำดับ โดยค่า RCA ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 0.05 ในปี พ.ศ.2533 เป็น 0.51 ในปี พ.ศ.2546 เมื่อพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่ารถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถจักรยานยนต์มีค่า RCA เท่ากับ 2.28 และ 1.49 ในปี พ.ศ.2543 และปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2.52 และ 1.76 ตามลำดับ ในปี พ.ศ.2546 ซึ่งแสดงว่าผลิตภัณฑ์ทั้งสองมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในตลาดโลก ในขณะที่รถยนต์นั่ง และ ชิ้นส่วนยานยนต์ ของไทยไม่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในตลาดโลก แต่มีความได้เปรียบที่เพิ่มขึ้น โดยรถยนต์นั่งและชิ้นส่วนยานยนต์มีค่า RCA ที่เพิ่มขึ้นจาก 0.07 และ 0.33 ในปี พ.ศ.2533 เป็น 0.18 และ 0.50 ตามลำดับ ในปี พ.ศ.2546 เมื่อศึกษาถึงความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในตลาดคู่ค้า สำคัญ พบว่า รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ของไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในตลาด ออสเตรเลียฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย แต่ไม่มีความได้เปรียบในตลาดสิงคโปร์ และ ญี่ปุ่น รถจักรยานยนต์ มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในตลาด สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ และ กรีซ รถยนต์นั่งมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในตลาด ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย แต่ไม่มีความได้เปรียบในตลาดออสเตรเลีย และญี่ปุ่น และชิ้นส่วนยานยนต์มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในตลาด ญี่ปุ่นอินโดนีเซีย และมาเลเซีย แต่ไม่มีความได้เปรียบในตลาดสหรัฐอเมริกา การส่งออกรถยนต์นั่งไปตลาดสิงคโปร์ และการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปตลาด ญี่ปุ่น ของไทยไม่มีการได้เปรียบหรือเสียเปรียบจากการแข่งขัน | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | อุตสาหกรรมยานยนต์--ไทย | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.subject | การแข่งขันทางการค้า | th_TH |
dc.title | การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Analysis of capability on competitive of Thai automotive industry | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
This item is licensed under a Creative Commons License