กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2767
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตทุเรียนพื้นเมืองคุณภาพในจังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of quality native Durian production in Phuket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สราวุธ ชลหาญ, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ทุเรียน--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตทุเรียนพื้นเมืองคุณภาพของเกษตรกร (3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตทุเรียนพื้นเมืองคุณภาพของเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตทุเรียนพื้นเมืองคุณภาพของเกษตรกร และ (5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตทุเรียนพื้นเมืองคุณภาพของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าหญิง อายุเฉลี่ย 50.70 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับจ้างเป็นอาชีพหลักประสบการณ์การปลูกทุเรียนพื้นเมืองคุณภาพเฉลี่ย 12.56 ปี พื้นที่ปลูกทุเรียนพื้นเมืองคุณภาพเฉลี่ย 4.05 ไร่ มีผลผลิตทุเรียนพื้นเมืองคุณภาพเฉลี่ย 454.95 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้จากการจำหน่ายทุเรียนพื้นเมืองคุณภาพเฉลี่ย 24,746.90 บาทต่อปี รายจ่ายจากการผลิตทุเเรียนพื้นเมืองเฉลี่ย 4,389.52 บาทต่อปีจำ นวนแรงงานภาคเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.15 คน ส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเอง (2) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกทุเรียนพื้นเมืองด้วยเมล็ด พื้นที่ปลูกเป็นที่ลาดชัน โดยปลูกแบบสวนผสมใช้น้ำฝน ไม่มีการตัดแต่งทรงพุ่ม และไม่ได้รับรอง GAPนำทุเรียนไปจำหน่ายด้วยตัวเองซึ่งเกษตรกรเป็นผู้กำหนดราคาผลผลิต (3) เกษตรกรมีความรู้ระดับมากในประเด็นด้านผลผลิตและขาดความรู้เรื่องโรคและแมลง(4) เกษตรกรมีปัญหาระดับปานกลางด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานสนับสนุนการเข้าสู่มาตรฐาน GAP/เกษตรอินทรีย ์ (5) เกษตรกรมีความต้องการในการส่งเสริมการผลิตทุเรียนพื้นเมืองคุณภาพ ได้แก่ การส่งเสริมการผลิตทุเรียนพื้นเมืองคุณภาพเพื่อการท่องเที่ยว และเกษตรกรต้องการให้เจ้าหน้าที่เข้ามาส่งเสริมในพื้นที่แบบรายบุคคล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2767
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons