กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2768
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในการผลิตข้าวของเกษตรกร อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines for integrated pest management of rice production by farmers in Mueang Saraburi District, Saraburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วันธนา ปรีเปรม, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ศัตรูพืช--การป้องกันและควบคุม
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในการผลิตข้าวของเกษตรกร (2) สภาพการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในการผลิตข้าว (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในการผลิตข้าว (3) แนวทางการ ส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในการผลิตข้าว ผลการวิจัย 1) เกษตรกรรัอยละ 51.4 มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการศัตรู พืชแบบผสมผสานในการผลิตข้าวในระดับมากที่สุด โดยมีความรู้มากที่สุดในประเด็นการปลูกพืชต้องใช้สายพันธุ์ดี เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์และการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี หรือชีวภาพ เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ ตัวน้ำ ตัวเบียน และเชื้อจุรินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืช 2) เกพตรกร ได้รับการส่งเสริมในระดับมากในประเด็นหลักการจัดการศัตรูพืชแบบวิธีผสมผสานรองลงมาให้รับการส่งเสริมในระดับมากในประเด็นวิธีการควบคุมสัตรูพืชในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมในระดับมากที่สุดในประเด็นวิธีการควบคุมตัตรูพืชในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานรองลงมามีความต้องการการส่งเสริมในระดับมากที่สุดในประเด็นหลักการ จัดการศัตรูพืชแบบวิธีผสมผสาน ส่วบด้านวิธีการส่งเสริม เกษตรกรได้รับการส่งเสริมในระดับมากที่สุดในวิธีการจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร รองลงมาได้รับการส่งเสริมในระดับมากในวิธีการจากญาติ พี่น้อง เพื่อนเกษตรกร เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมในระดับมากที่สุดในวิธีการจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร รองลงมามีความต้องการการส่งเสริมในระดับมากที่สุดในวิธีการจากอาสาสมัครเกษตร 3) เกษตรกรมีปัญหาในระดับมากในประเด็นขาดความรู้เรื่องวิธีฟิสิกส์ และปัญหาการขาดความรู้เรื่องการควบคุมด้วยเทคนิคการใช้แมลงเป็นหมัน รองลงมามีปัญหาในระดับมากในประเด็นขาดความรู้เรื่องการใช้วิธีกลข้อเสนอแนะมีการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง นั้นในด้านที่เกษตรกรยังขาดความรู้ และนำเกษตรกรออกไปปฏิบัติงานในพื้นที่จริง 4) เกษตรกรให้ความสำคัญกับแนวทางการส่งเสริมในระดับมากที่สุดในประเด็นสร้างเครือข่ายการจัดการศัตรูพืชในชุมชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และการพัฒนาเกษตรกรในชุมชนค้านการจัดการศัตรูพืชและด้านการเกษตร และให้ความสำคัญกับแนวทางการส่งเสริมในระดับมากที่สุดในประเด็นจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใด้แก่ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ระดับขด ระดับขังหวัด และระคับอำเภอ รองลงมาให้ความสำคัญกับแนวทางการส่งเสริมในระดับมากที่สุดในประเด็น จัดแหล่งเรียนรู้ให้เกษตรกร บุคคลทั่วไป มาศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกิดการเรียนรู้และนำไปพัฒนาให้กับท้องถิ่นของตนเอง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2768
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons