กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/276
ชื่อเรื่อง: ผู้นำชุมชนที่พึงประสงค์ของประชาชนกับการพัฒนาท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตย: กรณีศึกษาชุมชนซอย 39 เทศบาลนครรังสิต ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The desirable community leaders with local developments for democracy a case study: ChumchonSoi 39, Rangsit Municipality, Prachatipat Sub-District, Thanyaburi District, PathumThani Province, Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปธำน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฎฐ์นภันต์ ทองกล่อมสี, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
ผู้นำชุมชน -- ไทย -- ปทุมธานี
การพัฒนาชุมชน -- ไทย -- ปทุมธานี
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะและบทบาทหน้าที่ของผู้นำ ชุมชนที่พึงประสงค์ของชุมชน (2) ศึกษากระบวนการการได้มาซึ่งผู้นำชุมชนในระบอบประชาธิปไตย (3) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำชุมชนที่พึงประสงค์ของประชาชนกับการพัฒนาท้องถิ่นในระบอบ ประชาธิปไตย การศึกษาวิจัยนเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยประชากรวิจัยได้แก่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชุมชน ซอย 39 เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างภายในชุมชนซอย 39 จำนวน 10 กลุ่ม กลุ่มละ 2 ท่าน รวม 20 ท่าน โดยแบ่งเป็นกลุ่มตามสาขาอาชีพ ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการหรือปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มผู้อาวุโสในชุมชน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้ประกอบวิชาชิพครู กลุ่มผู้ประกอบอาชีพขับรถมอเตอร์ไซค์ รับจ้าง กลุ่มผู้ทำงานบริษัทเอกชน กลุ่มผู้ประกอบการค้ารายย่อย กลุ่มผู้เคยสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้นำ ชุมชน กลุ่มข้าราชการ และกลุ่มสมาชิกสภาเทศบาลนครรังสิต ทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรฌา ผลการศึกษาวิจัย พบว่า (1) คุณลักษณะและบทบาทหน้าที่ของผู้นำชุมชนที่พึงประสงค์ของ ประชาชนนั้นจะต้องเป็นคนดี มีความรู้ความสามารถ ฉลาด มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีมนุษยสัมพันธ์ดี มี ความเสียสละ รับผิดชอบสูง ซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ เยาวชนในชุมชนและบุคคลทั่วไป (2) กระบวนการการได้มาของผู้นำชุมชนนั้นต้องมาจากการเลือกตั้งใน ระบอบประชาธิปไตยโดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชุมชนเลือกผู้มสิทธิเลือกตั้งในชุมชนเข้ามาเป็นผู้นำชุมชน เพราะคนในชุมชนจะรู้ถึงความต้องการและปัญหาต่าง ๆ ในชุมชนได้เป็นอย่างดี (3) ความสัมพันธ์ ระหว่างผู้นำชุมชนกับการพัฒนาท้องถิ่นนั้นผู้นำชุมชนจะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริหารท้องถิ่น และ คนในชุมชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้ได้ตามวัตถุประสงค์ และความต้องการของคน ในชุมชนและห้องถิ่นโดยรวม โดยทั้งตัวผู้นำชุมชน ผู้บริหารห้องถิ่นและคนในชุมชน จะต้องมี ความสัมพันธ์ที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันยี่งมีความสัมพันธ์ที่ดีมากแค่ไหน ก็จะทำให้การพัฒนาชุมชน หรือห้องถิ่น รวมทั้งการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชุมชนหรือห้องถิ่นสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างรวดเร็ว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/276
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151083.pdfเอกสารฉบับเต็ม28.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons