Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2776
Title: การส่งเสริมการปลูกพริกปลอดภัยตามแนวมาตรฐานเกษตรดี ที่เหมาะสมของเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: Extension of safety chilli cultivation according to appropriate good agricultural practice standards of farmers in Kanchanaburi Province
Authors: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตญา ถุงพุดซา, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
พริก--การผลิต--มาตรฐาน
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตพริกของเกษตรกร (3) ความรู้ของเกษตรกรในการผลิตพริก (4) การปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตพริกของเกษตรกร (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตพริกปลอดภัย (6) ความต้องการการส่งเสริมการปลูกพริกปลอดภัยของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 71.5 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 45.23 ปี มีรายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 383,961.54 บาท/ปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 72,152.31 บาท/ปี รายจ่ายภาคการเกษตรเฉลี่ย 215,641.03 บาท/ปี (2) พื้นที่ปลูกพริกเฉลี่ย 8.34 ไร่ เป็นพื้นที่ราบ ดินร่วนปนทราย ไม่มีการปรับปรุงดินก่อนปลูก เกษตรกรซื้อต้นกล้ามาปลูก ใช้น้ำบาดาลในการปลูกพริก ใช้วิธีเพาะกล้าปลูก กำจัดวัชพืชใช้สารเคมีร่วมกับแรงงานคน ป้องกันกำจัดโรค-แมลงใช้สารเคมีร่วมกับสารชีวภาพ ใส่ปุ๋ยเคมี ราคาพริกสดเฉลี่ย 33.73 บาท/กิโลกรัม จำหน่ายผลผลิตให้พ่อค้าในพื้นที่ ผลผลิตเฉลี่ย 929.49 กิโลกรัม/ไร่ (3) เกษตรกรทุกคนมีความรู้ในระดับมากที่สุด เรื่องการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์จากต้นที่แข็งแรง ไม่มีโรคและแมลง และปฏิบัติตาม GAP ทาให้ได้ผลผลิตพริกที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค (4) การปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม ในการผลิตพริกพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ประเด็น คือ ทาความสะอาดร่างกายทันทีหลังการฉีดพ่นวัตถุอันตราย การใช้ปุ๋ยเคมีต้องเลือกปุ๋ยที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร เลือกใช้ให้เหมาะสมกับพืชตามอัตราที่แนะนำบนฉลาก และมีการตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงานที่ฉีดพ่นสารเคมี (5) ปัญหาของเกษตรกรมี 3 ประเด็น คือ ทบทวนการปฏิบัติงานด้านการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีหรือทบทวนบันทึกข้อมูลปีละ 1 ครั้ง ขาดความรู้ในการทำลายภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้แล้วหรือเสื่อมสภาพ และแหล่งจำหน่ายสารเคมี สารชีวภัณฑ์และสารสกัดธรรมชาติมีน้อย (6) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อบุคคลที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ผ่านสื่อบุคคล สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสิ่งพิมพ์ ต้องการวิธีส่งเสริม แบบบรรยาย สาธิต ฝึกปฏิบัติ และทัศนศึกษา
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2776
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.16 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons