Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/277
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสรวิชญ์ ผลอ้อ, 2513--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-06T04:05:05Z-
dc.date.available2022-08-06T04:05:05Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/277-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 256th_TH
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดของผู้จำนองอื่น 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยผิดนัด ลำดับการจัดสรรชำระหนี้ และระยะเวลา บังคับดอกเบี้ยค้างชำระ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้จำนองอื่นเมื่อบังคับจำนองตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย (ป.พ.พ.) เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ 4) เพื่อเสนอแนวทางปรับปรุง ป.พ.พ. ให้คุ้มครองสิทธิของผู้จำนองอื่นได้อย่างเหมาะสม วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ได้แก่ ป.พ.พ. ลักษณะจำนอง คำ พิพากษาฎีกาของไทย ผลงานวิจัย หนังสือ ตำรา บทความ รายงานการศึกษา วิทยานิพนธ์ ข้อมูลจากเครือข่าย อินเตอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์สู่ ผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า 1) ดอกเบี้ยผิดนัดระหว่าง ลูกหนี้ชั้นต้นและลูกหนี้ชั้นรองสามารถแบ่งแยกออก จากกันได้ 2) ความรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดของลูกหนี้กับเจ้าหนี้ทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 กำหนดไว้ที่อัตราร้อยละ 7.50 ต่อปี แต่ความรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดของลูกหนี้กับเจ้าหน้าที่เป็นสถาบันการเงินที่มีประกาศ กระทรวงการคลัง และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยยกเว้นให้สถาบันการเงินประกาศกำหนดอัตราได้เอง ทำให้สถาบันการเงินประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมและดอกเบี้ยผิดนัดสูงเกินกว่าที่ ป.พ.พ. กำหนด โดยสูงถึงร้อยละ 19.00- 28.00 ต่อปี และเป็นอัตราที่สูงเกินสมควรสำหรับผู้จำนองอื่น ที่เป็นเพียงลูกหนี้ชั้นรอง ปัญหาที่พบเมื่อบังคับจำนองถ้าหากเอาทรัพย์จำนองของผู้จำนองอื่นออกขายทอดตลาดเมื่อได้เงินมาต้องจัดสรรลำดับ การชำระหนี้ตามมาตรา 329 โดยต้องชำระหนี้อุปกรณ์คือดอกเบี้ยผิดนัดเสียก่อน แล้วจึงนำเงินที่เหลือมาชำระหนี้ ประธานคือต้นเงิน จนทำให้ไม่มีเงินเหลือคืนให้แก่ผู้จำนองอื่น หรือหากเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิ โดยเจ้าหนี้เรียกเอาดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราที่สูงเกินส่วนโดยไม่เป็นธรรมในระยะเวลาบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระที่ ยาวนานถึง 5 ปี ก็จะทำให้จำนวนหนี้ท่วมราคาทรัพย์จำนอง ทำให้ทรัพย์จำนองของผู้จำนองอื่นหลุดเป็นสิทธิแก่ เจ้าหนี้ผู้รับจำนองโดยไม่เป็นธรรม ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะคือ ควรปรับปรุง ป.พ.พ. ลักษณะจำนองให้ชัดเจน โดยเฉพาะให้เหมาะสมเป็นธรรมสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคมในปัจจุบัน คือ 1) กำหนดความรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดในการบังคับจำนองของผู้จำนองอื่น ตามมาตรา 728 ให้ชัดเจนในอัตราปกติร้อยละ 7.50 ต่อปี 2) ปรับปรุงลำดับการจัดสรรชำระหนี้ ตามมาตรา 732 ให้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของผู้ จำนองอื่นชำระต้นเงินตามจำนวนหนี้ประธานก่อนแล้วจึงชำระหนี้อุปกรณ์ 3) แก้ไขระยะเวลาบังคับดอกเบี้ยค้างชำระเมื่อบังคับเอาทรัพย์จำนองหลุด ตามมาตรา 729 ให้คิดระยะเวลาบังคับดอกเบี้ยผิดนัดค้างชำระย้อนหลังได้ 2 ปีth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช-
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectดอกเบี้ย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ. -- ไทยth_TH
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- จำนองth_TH
dc.subjectการชำระหนี้th_TH
dc.titleความรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดของผู้จำนองอื่นth_TH
dc.title.alternativeThe liability in default interest of third party mortgagorsth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this thesis were 1) To study the theoretical concept about the bears interest during default of third party mortgagors, 2) To study on the liability on the interest during default, order of debt allocation and term of enforcing the outstanding accrued interest, 3) To analyze the problems of the protection of rights of the third-party mortgagors under the Thai Civil and Commercial Code (C.C.C.) compared with foreign laws and 4) To propose guidelines to improve the C.C.C. to protect the rights of the third party mortgagors to be appropriate and fair to all parties This thesis is a qualitative research using document research methods, including the C.C.C. and Judgment of the Supreme Court of Thailand, research, books, textbooks, articles, studied reports, thesis, data from both Thai and foreign internet networks and then analyze the data for research findings. From the result of the study, it is found that 1) Bears interest during default between primary and secondary receivables can be separated, 2) The C.C.C. stipulates defaulted interest rates under Section 224 at the rate of 7.50 percent per year, but the Ministry of Finance and the Notification of the Bank of Thailand has provided the exemption that the financial institutions can specify their own rate, so that to announce a default interest rate higher than those specify as 19.00-28.00 percent per year, and it is considered as overloading to third party mortgagors , The problem is when enforcing the mortgages, sold by auction, the accessory obligation debts must be paid first. Then, the remaining money shall be paid for the principal amount until there is no money left to return to third party mortgagors, 3) In addition, when the creditor as the mortgagee has taken the foreclosure in which the accrued interest by that is too high and long period until the amount of debt is above the mortgage price, causing the third party mortgagors to lose assets. In conclusion, the writer has a suggestion is that the C.C.C. should be adjusted to be suitable and fair in accordance with economic and social situation by 1) Specify clear liability for default interest in the enforcement of mortgage under Section 728 at the normal rate of 7.50 percent per annum, 2) For the allocation of the order of debt payment under Section 732, it prescribed that money obtained from the assets sold by auction shall be paid on the principal debt first, and the rest shall be paid on the accessory obligation debt, and 3) The term of enforcing the overdue debt when it is enforced from the foreclosure of mortgage under 729, the term to calculate the outstanding accrued interest should be 2 years.en_US
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib161722.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons