Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/277
Title: ความรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดของผู้จำนองอื่น
Other Titles: The liability in default interest of third party mortgagors
Authors: มาลี สุรเชษฐ
สรวิชญ์ ผลอ้อ, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สิริพันธ์ พลรบ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ-วิทยานิพนธ์
ดอกเบี้ย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--จำนอง
การชำระหนี้
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดของผู้จำนองอื่น 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยผิดนัด ลำดับการจัดสรรชำระหนี้ และระยะเวลา บังคับดอกเบี้ยค้างชำระ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้จำนองอื่นเมื่อบังคับจำนองตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย (ป.พ.พ.) เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ 4) เพื่อเสนอแนวทางปรับปรุง ป.พ.พ. ให้คุ้มครองสิทธิของผู้จำนองอื่นได้อย่างเหมาะสม วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ได้แก่ ป.พ.พ. ลักษณะจำนอง คำ พิพากษาฎีกาของไทย ผลงานวิจัย หนังสือ ตำรา บทความ รายงานการศึกษา วิทยานิพนธ์ ข้อมูลจากเครือข่าย อินเตอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์สู่ ผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า 1) ดอกเบี้ยผิดนัดระหว่าง ลูกหนี้ชั้นต้นและลูกหนี้ชั้นรองสามารถแบ่งแยกออก จากกันได้ 2) ความรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดของลูกหนี้กับเจ้าหนี้ทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 กำหนดไว้ที่อัตราร้อยละ 7.50 ต่อปี แต่ความรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดของลูกหนี้กับเจ้าหน้าที่เป็นสถาบันการเงินที่มีประกาศ กระทรวงการคลัง และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยยกเว้นให้สถาบันการเงินประกาศกำหนดอัตราได้เอง ทำให้สถาบันการเงินประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมและดอกเบี้ยผิดนัดสูงเกินกว่าที่ ป.พ.พ. กำหนด โดยสูงถึงร้อยละ 19.00- 28.00 ต่อปี และเป็นอัตราที่สูงเกินสมควรสำหรับผู้จำนองอื่น ที่เป็นเพียงลูกหนี้ชั้นรอง ปัญหาที่พบเมื่อบังคับจำนองถ้าหากเอาทรัพย์จำนองของผู้จำนองอื่นออกขายทอดตลาดเมื่อได้เงินมาต้องจัดสรรลำดับ การชำระหนี้ตามมาตรา 329 โดยต้องชำระหนี้อุปกรณ์คือดอกเบี้ยผิดนัดเสียก่อน แล้วจึงนำเงินที่เหลือมาชำระหนี้ ประธานคือต้นเงิน จนทำให้ไม่มีเงินเหลือคืนให้แก่ผู้จำนองอื่น หรือหากเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิ โดยเจ้าหนี้เรียกเอาดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราที่สูงเกินส่วนโดยไม่เป็นธรรมในระยะเวลาบังคับเอาดอกเบี้ยค้างชำระที่ ยาวนานถึง 5 ปี ก็จะทำให้จำนวนหนี้ท่วมราคาทรัพย์จำนอง ทำให้ทรัพย์จำนองของผู้จำนองอื่นหลุดเป็นสิทธิแก่ เจ้าหนี้ผู้รับจำนองโดยไม่เป็นธรรม ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะคือ ควรปรับปรุง ป.พ.พ. ลักษณะจำนองให้ชัดเจน โดยเฉพาะให้เหมาะสมเป็นธรรมสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคมในปัจจุบัน คือ 1) กำหนดความรับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดในการบังคับจำนองของผู้จำนองอื่น ตามมาตรา 728 ให้ชัดเจนในอัตราปกติร้อยละ 7.50 ต่อปี 2) ปรับปรุงลำดับการจัดสรรชำระหนี้ ตามมาตรา 732 ให้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของผู้ จำนองอื่นชำระต้นเงินตามจำนวนหนี้ประธานก่อนแล้วจึงชำระหนี้อุปกรณ์ 3) แก้ไขระยะเวลาบังคับดอกเบี้ยค้างชำระเมื่อบังคับเอาทรัพย์จำนองหลุด ตามมาตรา 729 ให้คิดระยะเวลาบังคับดอกเบี้ยผิดนัดค้างชำระย้อนหลังได้ 2 ปี
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 256
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/277
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib161722.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons