Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/287
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินาฏ ลีดส์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorชาญณรงค์ ปราณีจิตต์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุชัญญา พลเพชร, 2513--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-06T07:09:25Z-
dc.date.available2022-08-06T07:09:25Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/287-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555th_TH
dc.description.abstractเนื่องด้วยปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ออกมาเพื่อรองรับกลุ่มผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากจากเหตุการณ์เดียวกันรูปแบบการดำเนินคดีมีลักษณะที่ผู้เสียหายต่างคนต่างฟ้อง หรือฟ้องรวมกันโดยผ่่านคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเนื่่องการฟ้องคดีผู้บริโภคของไทยยังไม่ได้นําหลักการดำเนินคดีกลุ่มหรือ Class Action มาใช้ เมื่อมีการดำเนินคดี เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ที่มีข้อเรียกร้องหรือส่วนได้เสียร่วมกัน และมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ก็ควรที่จะฟ้องคดีเข้ามาด้วยกันเพื่อให้ศาลมี คําพิพากษาและตัดสินเสียไปในคราวเดียวกันวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ (1 ) เพื่อศึกษาถึงสภาพ ปัญหาในการดำเนินคดีคุ้มครองผู้บริโภคที่มีผลกระทบต่อผู้เสียหายจำนวนมาก มีข้อเท็จจริงแห่งคดีประเด็นข้อพิพาท และใช้พยานหลักฐานชุดเดียวกันในการฟ้องคดีในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาแนวคิดและมาตรการในการควบคุมแก้ไขความไม่เป็นธรรมที่เกิดจากการทำสัญญา และองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบและกลไกการดำเนินคดีในประเทศไทยและต่างประเทศ (3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ทางกฎหมายเกี่ยวกับการฟ้องคดีในกรณีที่เกิดผลกระทบต่อผู้เสียหายจำนวนมากจากสัญญาที่่ไม่เป็นธรรม และคนหาแนวทางที่เหมาะสมด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของกลุ่มผู้ได้รับความเสียหายที่เกี่ยวของกับคดีผู้บริโภคจากการทำสัญญาที่ไม่เป็นธรรม (4) เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมแก้ไขในการเพิ่มเติมบทบัญญัติในร่างพระราชบญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่...) พ.ศ. ....(การดาเนินคดีแบบกลุ่ม) วิธีดําเนินการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสารศึกษาวิเคราะห ์ข้อมูลที่เกี่ยวกับคดี คุ้มครองผู้บริโภค ที่มีผู้เสียหายเป็นจํานวนมาก ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับท ี่ 2) พ.ศ. 2541 และ พระราชบญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 โดยนํา พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบบที่...) พ.ศ. ......(การดำเนินคดีแบบกลุ่ม) มาศึกษาแนวทางการใช้กฎหมาย แล้วนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห ์เปรียบเทียบกับวิธีการดำเนินคดีแบบกลุ่มที่่ใช้อยู่ในต่างประเทศได้แก่ ประเทศ สหรัฐอเมริกาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน วิเคราะห์ข้อจำกัดของกฎหมายสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติที่ใช้ในประเทศไทย เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา หาข้อสรุปของวิธีการดำเนินคดีแบบกลุ่มให้สอดคล้อง กับกลไกการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า หากนำวิธีการดำเนินคดีแบบกลุ่มมาปรับใช้ในคดี ที่มีผู้เสียหายจานวนมากจะเป็นการอำนวยความสะดวกในทางการยุติธรรมให้แก่ประชาชน ทําให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ตลอดจนเป็นการลดปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทําให้การดำเนินคดีในปัญหาอย่างเดี่ยวกันได้รับผลเป็นอยางเดี่ยวกัน โดยจำเลยจะไม่่ได้รับผลกระทบจากคําพิพากษาที่แตกต่างกัน และทําให้ผู้ที่จะฝ่าฝืนกฎหมายเกิดความยับยั้งชั่งใจในการที่จะก่อให้เกิดความเสียหายได้ แต่กฎหมายข้อสัญญาไม่เป็นธรรมที่บังคับใช้ในปัจจุบันนั้น พบว่ามีช่องว่างทางกฎหมายหลายประการที่่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในการดาเนินคดี โดยผู้บริโภคเองหรือโดยผู้แทนผู้บริโภคได้ประกอบกับพระราชบญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ไม่มีบทบัญญัติในการดําเนินคดี โดยกลุ่มเอกชนที่ได้รับความเสียหาย ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรมีการนำการดำเนินคดีแบบกลุ่มมาใช้กับคดีที่เกิดจากข้อสัญญาที่่ไม่เป็นธรรมโดยเฉพาะในสัญญาสําเร็จรูปจะสามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น โดยนำร่างบัญญัติร่างพระราชบญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบบที่...) พ.ศ......(การดำเนินคดีแบบกลุ่ม) มาพิจารณาเพิ่มเติมและออกเป็นกฎหมายบงคับใช้โดยเร็วth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2012.239en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช-
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภคth_TH
dc.titleการดำเนินคดีแบบกลุ่มเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค กรณีความไม่เป็นธรรมของสัญญาth_TH
dc.title.alternativeClass acion consumer protection groups : a case study of unfair contractsth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2012.239en_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeAt present, there are no Thai laws to support a class action lawsuit, that is, one brought by a large group of consumers, each of who claims damages from the same instance. Normally, individual consumers will launch individual lawsuits or the Consumer Protection Committee may undertake a lawsuit on his or her behalf. When a number of lawsuits are launched for the benefit individuals who have the same complaint, the same stake, and the same intention, they should be combined into one lawsuit that can be adjudicated at one time. The Class Action principle has not been implemented in Thai consumer lawsuits. The objectives of this thesis were (1) to study the present problems in Thailand with consumer protection cases that involve a large number of consumers with the same dispute, the same facts, and the same evidence; (2) to study concepts and standards for controlling or ameliorating unfairness in contracts, including the body of knowledge surrounding related legal forms and mechanisms in Thailand and other countries; (3) to analyze legal problems related to lawsuits involving large numbers of plaintiffs who claim damage from an unfair contract and to form recommendations on ways to protect consumers from such damage; and (4) to propose an appropriate draft class action amendment to Thailand’s Civil and Commercial Law Code to address these issues. This was a qualitative study based on documentary research and analysis of data concerning consumer protection lawsuits comprising large numbers of plaintiffs under the Consumer Protection Act B.E. 2522 and its amendment (second edition) of B.E. 2541, and under the Unfair Contracts Terms Act B.E. 2540. The Consumer Case Litigation Methods Act B.E. 2551 and the proposed draft class action amendment to the Commercial Case Litigation Methods Act (B.E. …) were also studied and the data analyzed in comparison with class action laws in the United States, England, France, and Germany. The limitations of substantive law and adjective law used in Thailand were analyzed in order to form recommendations for solving the problems and to find an alternative for class action lawsuits that would be suitable for the legal process in Thailand The results indicated that implementing the class action principle in cases with large numbers of plaintiffs would (1) make public justice more convenient; (2) save time and costs; (3) effectively reduce the number of cases in the court system; (4) insure that plaintiffs with the same problem would get the same results and that defendants would not be impacted by different judgments; and (5) deter people from breaking the law. There are several loopholes in the present Unfair Contracts Terms Act that make it difficult for consumers or their representatives to resolve problems, and the Consumer Case Litigation Methods Act does not provide for lawsuits by groups of plaintiffs. The researcher recommends that class action lawsuits be used to better protect consumers in cases of unfair contracts, especially form contracts, and that a class action amendment be drafted and appended to Thailand’s Code of Civil Procedureen_US
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib133796.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons