กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/287
ชื่อเรื่อง: การดำเนินคดีแบบกลุ่มเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค กรณีความไม่เป็นธรรมของสัญญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Class acion consumer protection groups : a case study of unfair contracts
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินาฏ ลีดส์
สุชัญญา พลเพชร, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชาญณรงค์ ปราณีจิตต์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การคุ้มครองผู้บริโภค
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: เนื่องด้วยปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ออกมาเพื่อรองรับกลุ่มผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากจากเหตุการณ์เดียวกันรูปแบบการดำเนินคดีมีลักษณะที่ผู้เสียหายต่างคนต่างฟ้อง หรือฟ้องรวมกันโดยผ่่านคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเนื่่องการฟ้องคดีผู้บริโภคของไทยยังไม่ได้นําหลักการดำเนินคดีกลุ่มหรือ Class Action มาใช้ เมื่อมีการดำเนินคดี เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ที่มีข้อเรียกร้องหรือส่วนได้เสียร่วมกัน และมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ก็ควรที่จะฟ้องคดีเข้ามาด้วยกันเพื่อให้ศาลมี คําพิพากษาและตัดสินเสียไปในคราวเดียวกันวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ (1 ) เพื่อศึกษาถึงสภาพ ปัญหาในการดำเนินคดีคุ้มครองผู้บริโภคที่มีผลกระทบต่อผู้เสียหายจำนวนมาก มีข้อเท็จจริงแห่งคดีประเด็นข้อพิพาท และใช้พยานหลักฐานชุดเดียวกันในการฟ้องคดีในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาแนวคิดและมาตรการในการควบคุมแก้ไขความไม่เป็นธรรมที่เกิดจากการทำสัญญา และองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบและกลไกการดำเนินคดีในประเทศไทยและต่างประเทศ (3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ทางกฎหมายเกี่ยวกับการฟ้องคดีในกรณีที่เกิดผลกระทบต่อผู้เสียหายจำนวนมากจากสัญญาที่่ไม่เป็นธรรม และคนหาแนวทางที่เหมาะสมด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของกลุ่มผู้ได้รับความเสียหายที่เกี่ยวของกับคดีผู้บริโภคจากการทำสัญญาที่ไม่เป็นธรรม (4) เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมแก้ไขในการเพิ่มเติมบทบัญญัติในร่างพระราชบญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่...) พ.ศ. ....(การดำเนินคดีแบบกลุ่ม) วิธีดําเนินการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสารศึกษาวิเคราะหข้อมูลที่เกี่ยวกับคดี คุ้มครองผู้บริโภค ที่มีผู้เสียหายเป็นจํานวนมาก ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2541 และ พระราชบญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 โดยนํา พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบบที่...) พ.ศ. ......(การดำเนินคดีแบบกลุ่ม) มาศึกษาแนวทางการใช้กฎหมาย แล้วนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับวิธีการดำเนินคดีแบบกลุ่มที่่ใช้อยู่ในต่างประเทศได้แก่ ประเทศ สหรัฐอเมริกาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน วิเคราะห์ข้อจำกัดของกฎหมายสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติที่ใช้ในประเทศไทย เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา หาข้อสรุปของวิธีการดำเนินคดีแบบกลุ่มให้สอดคล้อง กับกลไกการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า หากนำวิธีการดำเนินคดีแบบกลุ่มมาปรับใช้ในคดี ที่มีผู้เสียหายจานวนมากจะเป็นการอำนวยความสะดวกในทางการยุติธรรมให้แก่ประชาชน ทําให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ตลอดจนเป็นการลดปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทําให้การดำเนินคดีในปัญหาอย่างเดี่ยวกันได้รับผลเป็นอยางเดี่ยวกัน โดยจำเลยจะไม่่ได้รับผลกระทบจากคําพิพากษาที่แตกต่างกัน และทําให้ผู้ที่จะฝ่าฝืนกฎหมายเกิดความยับยั้งชั่งใจในการที่จะก่อให้เกิดความเสียหายได้ แต่กฎหมายข้อสัญญาไม่เป็นธรรมที่บังคับใช้ในปัจจุบันนั้น พบว่ามีช่องว่างทางกฎหมายหลายประการที่่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในการดาเนินคดี โดยผู้บริโภคเองหรือโดยผู้แทนผู้บริโภคได้ประกอบกับพระราชบญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ไม่มีบทบัญญัติในการดําเนินคดี โดยกลุ่มเอกชนที่ได้รับความเสียหาย ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรมีการนำการดำเนินคดีแบบกลุ่มมาใช้กับคดีที่เกิดจากข้อสัญญาที่่ไม่เป็นธรรมโดยเฉพาะในสัญญาสําเร็จรูปจะสามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น โดยนำร่างบัญญัติร่างพระราชบญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบบที่...) พ.ศ......(การดำเนินคดีแบบกลุ่ม) มาพิจารณาเพิ่มเติมและออกเป็นกฎหมายบงคับใช้โดยเร็ว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/287
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib133796.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons