Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2916
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Other Titles: Factors affecting ability to solve mathematical problems of Mathayom Suksa II students
Authors: วินิจ เทือกทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปนัดดา บุญปัญญา, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน --การศึกษาเฉพาะกรณี
คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ความสามารถทางคณิตศาสตร์
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และแรงจูงใจไฝ่สัมฤทธิ์ กับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ (2) สร้างสมการพยากรณ์ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2563 จำนวน 185 คน โดยคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากโปรแกรม G*Power 3.1 และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ (2) แบบสอบถามเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ (3) แบบสอบถามแรงจูงใจไฝสัมฤทธิ์ และ(4) แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามและแบบทดสอบ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.965, 0.955, 0.945 และ 0.818 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติบรรยาย สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนระดับลดหลั่น ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.522, 0.550 และ 0.494 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับ และ (2) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนระดับลดหลั่น พบว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัว ร่วมกันอภิปรายความแปรปรวนของความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 34.4 ซึ่งมีขนาดปานกลางและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีสมการถดถอยรูปคะแนนดิบ และสมการถดถอยรูปคะแนนมาตรฐาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2916
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_164613.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.6 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons