กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2940
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดสตูล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Financial statement analysis of Agricultural Cooperatives in Satun Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุชาดา สถาวรวงศ์ พวงเพ็ชร์ พราหมพงษ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์การเกษตร--งบการเงิน สหกรณ์การเกษตร--งบการเงิน.--ไทย--สตูล การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสามารถในการดำเนินงาน ของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดสตูล และ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการดำเนินงานของสหกรณ์ การเกษตรในจังหวัดสตูลกลุ่มตัวอย่างคือสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดสตูลที่มีขนาดใหญ่มากและมีงบ การเงินรอบปี บัญชีสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี จำนวน 3 สหกรณ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบ การเงินของสหกรณ์ในรอบปี บัญชีสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2553 และวิเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์งบ การเงินตามแนวดิ่ง และการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ผลการศึกษาพบว่า (1) สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดสตูล ส่วนใหญ่มีโครงสร้างการลงทุน ในสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นเงินให้กู้ยืมสูง สหกรณ์จึงมีรายได้หลักจากดอกเบี้ยรับ การจัดหาเงินทุนมาจาก การก่อหนี้จากภายนอกมากกว่าการระดมทุนจากสมาชิก สำหรับการหมุนของสินค้าสหกรณ์อยู่ในเกณฑ์ดี เพราะสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานมาก สหกรณ์ลงทุนในสินทรัพย์ไม่สอดคล้องกับยอดขาย คือสหกรณ์ลงทุน ในสินทรัพย์มากเกินไป และใช้สินทรัพย์เพื่อให้เกิดรายได้ยังไม่เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ความสามารถ ในการทำกำไรต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แต่สมาชิกมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลหรือเฉลี่ยคืน ในอัตราที่น่าพอใจ ยกเว้นสหกรณ์การเกษตรเมืองสตูล จำกัดสมาชิกไม่มีโอกาสได้รับเงินปันผลและเฉลี่ย คืนเนื่องจากสหกรณ์มีผลขาดทุนสะสม (2) เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดำเนินงานของสหกรณ์ การเกษตรในจังหวัดสตูล พบว่า สหกรณ์การเกษตรทั้ง 3 แห่งขาดสภาพคล่องทางการเงิน โดยมีอัตราส่วน ทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วต่ำกว่ามาตรฐานมากสหกรณ์การเกษตรท่าแพ จำกัด มี ความสามารถในการใช้สินทรัพย์สภาพคล่องชำระหนี้สินหมุนเวียนได้ดีกว่าสหกรณ์อื่น ในด้านความ สามารถในการก่อหนี้นั้น สหกรณ์การเกษตรละงู จำกัด มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนสูงกว่าสหกรณ์อื่นแต่ต่ำ กว่ามาตรฐาน จึงมีความเสี่ยงทางการเงินสูง ส่วนความสามารถในการใช้สินทรัพย์ พบว่าสหกรณ์ การเกษตรท่าแพ จำกัด มีความสามารถในการใช้สินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดรายได้ได้ดีที่สุด สำหรับความ สามารถในการทำกำไร สหกรณ์การเกษตรท่าแพ จำกัด มีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์สูงกว่า สหกรณ์อื่น แต่ต่ำกว่ามาตรฐาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2940 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
124297.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 25.15 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License