Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2945
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ส่งเสริม หอมกลิ่น | th_TH |
dc.contributor.author | พัทธนันท์ ธรรมขันติพงศ์ | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-01-31T06:45:49Z | - |
dc.date.available | 2023-01-31T06:45:49Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2945 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการดำเนินงานสหกรณ์การเกษตรเมือง นครนายก จํากัด จังหวัดนครนายก และ 2) วิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของสหกรณ์การเกษตรเมือง นครนายกจํากัด จังหวัดนครนายกประชากรในการศึกษาคือกรรมการดาเนินการ 15 คน ฝ่ายจัดการ 9 คน และสมาชิก10 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากสมาชิกกรรรมการดำเนินการ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และศึกษาข้อมูลทุติยภูมิซึ่งได้จากรายงานกิจการประจำปีและรายงานงบการเงินของ สหกรณ์ตั้งแต่ปี 2553-2555 เอกสารเผยแพร่ของหน่วยงานราชการรายงานเอกสารการวิจัยโดยการวิเคราะห์ข้อมูลผลการ ดําเนินงานและฐานะการเงินของสหกรณ์โดยใชเทคนิคการวัดแบบสมดุล ทั้ง 4 มุมมอง ผลการศึกษา พบว่า 1) ด้านสภาพทั่วไปสหกรณ์ได้รับการจัดตั้งและมีการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2517 ปัจจุบันมีสมาชิก 806 คน กรรมการดำเนินการ 15 คน และฝ่ายจัดการ 9 คน ดําเนินธุรกิจสินเชื่อธุรกิจจัดหาสินค้ามาจําหน่ายธุรกิจรวบรวมผลผลิตและธุรกิจรับฝากเงิน ปริมาณธุรกิจโดยรวมมีผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายและแผนงานที่กำหนดไว้ ยกเว้นธุรกิจรับเงินฝากและธุรกิจสินเชื่อ มีผลงานสูงกว่าเป้าหมาย ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ ตั้งแต่ปี 2553 -2555 มีกำไรสุทธิ 1,685,082.09 บาท 2,329,343.58 บาท และ 327,335.24 บาท ตามลำดับ 2) การวิเคราะห์ ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของสหกรณ์โดยเทคนิคการวัดแบบสมดูล มุมมองด้านการเงิน จากการวิเคราะห์ อัตราส่วนทางการเงิน พบว่าความเข้มแข็งและความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยงในภาพรวมสหกรณ์อยู่ในฐานะมีความเสี่ยงเนื่องจากมีหนี้สินต่อทุนของสหกรณ์ 1.99 เท่า ทุนของสหกรณ์ไม่สามารถคุ้มครองหนี้สินได้ประสิทธิภาพการ ใช้ทรัพย์สินในการดำเนินงานของสหกรณ์เพื่อก่อให้เกิดรายได้ 0.62 รอบ ลดลงกว่าปีก่อนที่นําไปใช้ได้ 1.29 รอบ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของสหกรณ์ลดลงกว่าปี ก่อนด้วยขีดความสามารถในการบริหารจัดการอยู่ในเกณฑ์ที่ดี การทำกำไร ต่อสมาชิกและเงินออมเฉลี่ยต่อสมาชิกแตกต่างกันมากกำไรสุทธิมีแนวโนมลดลง สหกรณ์มีสภาพคล่องทางการเงินอยู่ใน เกณฑ์ดีผลกระทบทางธุรกิจจะมีด้านต้นทุนน้ำมัน ภัยธรรมชาติส่งผลกระทบต่อลูกหนี้ที่ไม่นํามาชำระหนี้มุมมองด้าน ลูกค้า พบว่า ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการมีเพียงพอเหมาะสม กระตือรือร้นเอาใจใส่ดูแลและบริการดี ด้านอาคารสถานที่มีสภาพอาคารน่าเชื่อถือมีพื้นที่ให้สมาชิกนั่งรอรับบริการและมีทําเลที่ตั้งเหมาะสมสามารถอำนวยความสะดวกในการบริการจอดรถที่เป็นสัดส่วน และด้านธุรกิจได้แก่ธุรกิจสินเชื่อธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายธุรกิจรวบรวมผลผลิต และธุรกิจรับฝากเงินพบว่าทั้ง 4 ด้าน สหกรณ์ได้ปฏิบัติครบถ้วนเหมาะสมและเพียงพอดีแล้ว มุมมองด้านกระบวนการภายใน พบว่า การสร้างค่านิยมร่วม และแผนกลยทธุ์สหกรณ์ยังไม่มีการจัดทำ ส่วนโครงสร้างองค์กรและเจ้าหน้าที่ ระบบงานการปฏิบัติงานและรูปแบบการบริหารจัดการ สหกรณ์มีการกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านต่างๆ ไว้อย่างชัดเจนและ เป็นไปโดยเหมาะสม และมุมมองการเรียนรู้และการเจริญเติบโต พบว่าทั้งคณะกรรมการและฝ่ายจัดการได้มีการวางแผน และกำหนดนโยบายในการใช้ทรัพยากรคน เงิน และวัสดุอุปกรณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานของสหกรณ์อันจะ นําไปสู่การเพิ่มประสิทธิผลองค์กรสูงสุดโดยมีนโยบายของผู้บริหารเป็นตัวผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรม | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | สหกรณ์การเกษตรเมืองนครนายก--การประเมิน | th_TH |
dc.subject | สหกรณ์การเกษตรเมืองนครนายก--งบประมาณ | th_TH |
dc.title | การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของสหกรณ์การเกษตรเมืองนครนายก จำกัด จังหวัดนครนายก | th_TH |
dc.title.alternative | Analysis of the operation and financial statement of Mueangnakhonnayok Agricultural Cooperatives Limited, Nakhon Nayok Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to study the general operation circumstance of Mueangnakhonnayok Agricultural Cooperatives Limited, Nakhon Nayok Province and 2) to analyze the operation and financial statement of Mueangnakhonnayok Agricultural Cooperatives Limited, Nakhon Nayok Province. The population comprised of 3 parts 1) 15 operation committee’s members, 2) 9 members of management section and 3) 10 cooperatives’ members. The research instrument was applied the semistructural interview which collected from members, operation committee members and the Cooperatives staff. Secondary data were collected from annual report and financial report of the Cooperatives from the period of the year 2010 to 2012. In addition, the secondary data were collected from the Royal Thai Government Brochure and other related research papers. The analysis of the Cooperatives’ operation and financial statement was carried out by Balanced Scorecard (BSC) technique covering all of the 4 dimensions. Research results were as follows; 1) General operational circumstance; the Cooperatives was established and has run its operation since the year 1974. At present time, there are 806 members under supervision of 15 operation committee members and 9 management members. The Cooperatives business included credit loan, dealing with procurement and selling business, agricultural product collection business and deposit. The overall business quantity, however, did not meet the planned target except for deposit and credit loan that appeared to achieve higher planned target. From the period of the year 2010 to 2012, the Cooperatives achievement gained 1,685,082.09 baht, 2,329,343.58 baht and 327,335.24 baht net profit respectively. 2) The analysis of the Cooperatives’ operation and financial statement conducted by Balanced Scorecard (BSC) technique covering all of the 4 following dimensions: Financial perspective, from the analysis of financial ratio, it was discovered the overall capital strength of the Cooperatives was at risk due to debt/equity ratio was 1.99 times. The Cooperatives capital, therefore, it could not be debt insurance accordingly. The Cooperatives efficiency of property income was 0.62 rounds, less than last year 1.29 rounds which resulted decrease of the Cooperatives dividend. Management capability was at good level. The members’ average profit and average savings were considerably different. The net profit tended to decrease. The Cooperatives liquidity was at good level. The business impact would be fuel capital, natural disaster which affected the due debtors. Customer perspective, it was found that the cooperatives staff was sufficient, appropriate, active, taking good care with impressive services to customers. Buildings, there was enough space for customers to sit while waiting. The Cooperatives was located in suitable location with designated parking lot. Business included credit loan, procurement and selling goods, collection of products and money deposit, it was found that the Cooperatives followed all of the 4 perspectives appropriately which was good enough. Internal Process Perspective, it was found that common value and the Cooperatives strategic plan had yet to be created. Whereas, the organization and staff structure, work process, operational approach, management model policy were clearly set and appropriately identified by the Cooperatives. Learning and Growth Perspective, it was found that the committee and together with the management have planned and set a policy using resource, manpower, finance and materials to increase the Cooperatives operation potential which would certainly lead to maximize the organization effectiveness by administrators’ policy as a driving force to make it a concrete one. | en_US |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
130319.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License