กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/294
ชื่อเรื่อง: | พฤติกรรมทางการเมืองของนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ที่มีต่อพัฒนาการทางการเมืองไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Political behavior of Chulachomklao Royal Military Academy cadet towards Thai's political development |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ อร่าม จอมจิต, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เสนีย์ คำสุข |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ นักเรียนนายร้อยทหารบก -- กิจกรรมทางการเมือง การเมืองภาคปฏิบัติ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าปีการศึกษา พ.ศ.2556 (2) ศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของนักเรียนนายร้อยที่มีผลต่อพัฒนาการทางการเมืองไทย และ (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการแสดงพฤติกรรมทางการเมืองของนักเรียนนายร้อย การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ จากนักเรียนนายร้อย ชั้นปืที่ 1- 4 รวมจำนวน 797 คน สามารถเก็บตัวอย่างได้ 590 คน เครื่องมือวิจัยใชัแบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x) ค่าร้อยละ (%) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) และค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเลียร์สัน การวิชัยเชิงคุณภาพใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 9 คน ได้แก่รองผู้บัญชาการ รร.จปร. จำนวน 1 คน อาจารย์ประจำกองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ จำนวน 2 คน นายทหารปกครอง กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ จำนวน 2 คน และผู้แทนนักเรียนนายร้อยแต่ละชั้นปี ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 4 คนเครื่องมือวิจัยใช้การสัมภาษณ์และวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัย (1) พฤติกรรมทางการเมืองของนักเรียนนายร้อย จากการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่ามีการแสดงออกพฤติกรรมทางการเมืองอยู่ในระดับปานกลาง (x=3.29) โดยแสดงพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเลือกตั้งมากที่สุด (x=3.99) และการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่านักเรียนนายร้อยแสดงพฤติกรรมการมีส่วนรวมใน กิจกรรมการเลือกตั้งมากที่สุด เป็นผลมาจากการสนับสนุนของ รร.จปร. เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล และป้องกันการเสียสิทธิทางการเมือง (2) พฤติกรรมทางการเมืองของนักเรียนนายร้อยที่มีผลต่อพัฒนาการทางการเมืองไทย จากการวิจัยเชิงปริมาณ เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเลียร์ลัน พบว่าพฤติกรรมทาง การเมืองของนักเรียนนายร้อยมีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยส์าคัญที่ระดับ 0.01 กับพัฒนาการทางการเมืองไทยไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งด้านความเสมอภาค ด้านการ สรัางวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีเหตุผล และความสามารถในการปรับตัวของรัฐบาล ตามลำดับ และการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าพฤติกรรมทางการเมืองจะมีผลต่อพัฒนาการทางการเมืองไทยในทุกๆ ด้าน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเลือกตั้งจะมีผลต่อการสรัางวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีเหตุผลมากที่สุด เพราะต้องใช้เหตุผลในการตัดสินใจ และผู้ที่ได้รับเลือกก็ต้องใช้เหตุผลในการทำงาน จากผลการวิจัยทั้งสองแบบพบว่ามีความสอดคล้องกัน โดยพฤติกรรมทางการเมืองของนักเรียนนายร้อยจะมี ความสัมพันธ์เชิงบวกกับพัฒนาการทางการเมืองไทย และ (3) ปัญหาและอุปสรรคในการแสดงพฤติกรรมทางการเมืองของนักเรียนนายร้อย ได้แก่ ด้านตัวนักเรียนนายร้อยที่บางส่วนยังขาดความเข้าใจและมีทัศนคติเชิงลบต่อการเมืองแบบประชาธิปไตยข้อจำกัดด้านเวลาเพราะต้องฝึกศึกษาตามหลักสูตรที่เน้นการสร้างนายทหารอาชีพใน บทบาทผู้พิทักษ์ประกอบกับสภาพสังคมนักเรียนนายร้อยที่มีแบบแผนในการดำรงชีวิตและต้องทำตามระเบียบปฏิบัติประจำวัน ด้านระบบและธรรมเนียมทหารที่ต้องยึดถือ และการปฏิบัติตามกรอบนโยบายของผู้บังคับบัญชาที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตยเท่าที่ควร |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/294 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
142788.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 25.23 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License