กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2970
ชื่อเรื่อง: | การประเมินผลการดำเนินงานสหกรณ์กองทุนสวนยางละหานทราย จำกัด อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evaluation of operational performance of Lahan Sai Rubber Fund Cooperatives Ltd. in Lahan Sai District of Buriram Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ โสภณ ศรีโยธิน, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์กองทุนสวนยางละหานทราย จำกัด--การบริหาร--การประเมิน |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสหกรณ์กองทุนสวนยางละหานทราย จำกัด เกี่ยวกับ 1) สภาพทั่วไปของการดำเนินงานของสหกรณ์ 2) ผลการดำเนินงานของสหกรณ์โดยใช้แนวความคิดการวัดแบบสมดุล และ 3) แนวทางการกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานของสหกรณ์ ประชากรในการศึกษาคือ คณะกรรมการดำเนินการ 9 คน ฝ่ายจัดการ 2 คน และสมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางละหานทราย จำกัด 367 คน กลุ่มตัวอยา่ง ไดแก่ คณะกรรมการดำเนินการ 9 คน ฝ่ายจัดการ 2 คนและสมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางละหานทราย จำกัด 192 คนโดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อ มูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าน้ำหนักเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 50 ปีขื้นไป จบชั้นประถมศึกษา มีพื้นที่ปลูกยางพาราน้อยกว่า 50 ไร่ สมาชิกประกอบอาชีพเสริมทำสวน/ทำไร่ 2) ผลการดำเนินงานโดยใช้แนวความคิดการวัดแบบสมดุล (Balanced Scorecard : BSC) ทั้ง 4 มุมมอง ได้แก่ ด้านการเงิน ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้ เครื่องมือ CAMELS ข้อมูลระหว่างปีบัญชี 2552 – 2555 ผลการวิเคราะห์พบว่า สถานภาพการของสหกรณ์ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับปี 2556 สหกรณ์ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑเ์สี่ยง ด้านลูกค้าพบว่า ความพึงพอใจของสมาชิกในฐานะลูกค้า อยู่ในระดับปานกลาง ด้านกระบวนการภายใน พบว่า ความพึงพอใจของคณะกรรมการดำเนินการและฝ่ายจัดการของสหกรณ์อยู่ในระดับมาก สำหรับด้านการเรียนรู้และพัฒนา พบว่า ความพึงพอใจของคณะกรรมการดำเนินการและฝ่ายจัดการอยู่ในระดับมาก 3) แนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานในมุมมอง 4 ด้าน คือ กลยุทธ์ขยายธุรกิจสหกรณ์ กลยุทธ์สร้างความพึงพอใจสมาชิกและลูกค้า กลยุทธ์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบการทำงาน และกลยุทธ์พัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจสหกณ์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2970 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_142623.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License