Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3018
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาของห้องยาผู้ป่วยใน โรงพยาบาลหนองคาย
Other Titles: Factors related to severity levels of dispensing errors at Inpatient Pharmacy Unit in Nongkhai Hospital
Authors: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐานมาศ เถื่อนหมื่นไวย, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาล--ระบบการจ่ายยา--ไทย--หนองคาย
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สถานการณ์และระดับความรุนแรงในการเกิดความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาของห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน โรงพยาบาลหนองคาย (2) ปัจจัยด้านยา ปัจจัยด้านบุคลากร และปัจจัยเสริมที่เกี่ยวข้องกับความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านยา ปัจจัยด้านบุคลากร และปัจจัยเสริม กับระดับความรุนแรงในการเกิดความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เหตุการณ์ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาของห้องจ่ายยาผู้ป่วยในที่ถูกรายงานจากแพทย์และหอผู้ป่วยเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้า โดยสมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 จํานวน 104 รายงาน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบบันทึกความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบฟิชเชอร์เอ็กแซ็กท์ ผลการวิจัยพบว่า (1) เหตุการณ์ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาที่พบมากที่สุด ได้แก่ จ่ายยาผิดตัวยาร้อยละ 39.4 ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาพบว่าอยู่ในระดับที่รุนแรงน้อย (2) ปัจจัยสาเหตุของการเกิดความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาปัจจัยด้านยา ได้แก่ ยามีลักษณะชื่อพ้องมองคล้าย ร้อยละ 9.6 ปัจจัยด้านบุคลากร จากคำสั่งของแพทย์ที่เขียนลายมือแพทย์ไม่ชัดเจนร้อยละ 22.1 จากเภสัชกรขาดความรู้ด้านยาร้อยละ 20.2 และปัจจัยเสริม ได้แก่ มีการขัดจังหวะหรือรบกวนสมาธิของเภสัชกรร้อยละ 34.6 การบาด หรือลาของเภสัชกรทำให้คนจ่ายยาไม่ครบร้อยละ 14.4 มีปัญหาการสื่อสารระหว่างเภสัชกรกับสหวิชาชีพ และระหว่างบุคลากรในห้องยาเองร้อยละ 7.7 มีใบสั่งยาจำนวนมากในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 33.7 จํานวนรายการยาในใบสั่งยาที่เกิดความคลาดเคลื่อน 1-5 รายการยาร้อยละ 57.7 และ (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาในระดับรุนแรงมากอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยด้านยา ในส่วนของชื่อยามีการออกเสียงหรือเขียนเหมือนกัน และปัจจัยด้านบุคลากร ในประเด็นเภสัชกรขาดความรู้ด้านยาและขาดข้อมูลจำเพาะของผู้ป่วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3018
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.82 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons