Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3029
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกรในอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: Factors affecting integrated agriculture of farmers in Ban Na San District, Surat Thani Province
Authors: พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดา พิศาลบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
จารีพร เพชรชิต, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกรรมแบบผสมผสาน
เกษตรทฤษฎีใหม่
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาวะในการทาเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกรอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลของปัจจัยด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการทาเกษตรแบบผสมผสาน 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลของเกษตรกรกับปัจจัยด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในการทาเกษตรแบบผสมผสาน 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรทำเกษตรแบบผสมผสาน ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 40-49 ปี จบการศึกษาประถมศึกษา รายได้ต่อปีเฉพาะพืชร่วม 5,001 -10,000 บาท จำนวนสมาชิกในครัวเรือนไม่เกิน 4 คน มีประสบการณ์ก่อนการมาทำเกษตรแบบผสมผสานบ้าง ปลูกไม้ผลมากที่สุด จุดประสงค์ที่ปลูกเพื่อบริโภคและใช้สอย 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกรมากที่สุด คือ (1) ปัจจัยด้านกายภาพ ได้แก่ ความอุดมสมบูรณ์ของสภาพดินบริเวณที่ทำการเกษตร สภาพพื้นที่สูงต่าเหมาะสม พันธุ์พืชที่ปลูกเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รองลงมาคือ (2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การทำเกษตรผสมผสานเหมาะสมกับขนาดพื้นที่ถือครอง การใช้แรงงานภายในครัวเรือน ปลูกและดูแลโดยไม่จ้างแรงงานภายนอก (3) ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนแรงงานจากครอบครัว และการได้รับความรู้และประสบการณ์ในการปลูกจากเพื่อนเกษตรกร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลของเกษตรกรกับปัจจัยด้านต่างๆ พบว่า ประสบการณ์ก่อนการทำเกษตรความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านกายภาพและเศรษฐกิจ เพศและประสบการณ์ก่อนการทำเกษตรมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม 4) ข้อเสนอแนะในการทำเกษตรผสมผสานคือ ไม้ผลที่ควรปลูก คือ ลองกอง มังคุด สะตอ เนื้อที่ที่ควรปลูกพืชอื่นประมาณสามในสี่ของเนื้อที่ปลูกยางพารา
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3029
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146081.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons