Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3033
Title: การจัดการการผลิตอ้อยในพื้นที่อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: Sugar cane production management in Bo Ploy District, Kanchanaburi Province
Authors: กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุสร วงศ์ประเทศ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
อ้อย--การปลูก
อ้อย--การผลิต--การจัดการ
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร ผู้ปลูกอ้อย 2) วิธีการจัดการการผลิตอ้อยของเกษตรกร 3) ความต้องการของเกษตรกรในการพัฒนาการจัดการ การผลิตอ้อย 4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49.93 ปี มีระดับการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.59 คน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.49 คน มีแรงงานนอกครัวเรือน (แรงงานจ้าง) เฉลี่ย 8.66 คน เกษตรกรทั้งหมดเป็นสมาชิกสมาคมชาวไร่อ้อย เกษตรกรส่วนมากไม่มีตำแหน่งทางสังคม รายได้ของครัวเรือนเกษตรกรรวมทั้งหมดเฉลี่ย 1,262,162.16 บาทต่อปี รายได้จากการผลิตอ้อยปี 2557/58 เฉลี่ย 996,139.00 บาทต่อปี แหล่งเงินทุนที่ใช้ในการผลิตอ้อย ใช้ทุนตนเองเฉลี่ย 134,633.20 บาทต่อปี และกู้ยืมเงินทุนจากโรงงานน้ำตาลเฉลี่ย 654,128.44 บาทต่อปี 2) เกษตรกรมีการปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีการการจัดการผลิตอ้อยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เนื่องจากมีการผลิตอ้อยมาเป็นเวลานาน ด้วยประสบการณ์และได้รับการถ่ายทอดความรู้จากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น ส่วนการปฏิบัติในระดับน้อย พบว่า เกษตรกรขาดเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมในการทำไร่อ้อย 3) ความต้องการของเกษตรกรในการพัฒนาการจัดการการผลิตอ้อยอยู่ในระดับมาก โดยต้องการให้เจ้าหน้าที่โรงงานน้ำตาลและเจ้าหน้าที่รัฐไปพบปะที่แปลงอ้อยหรือที่บ้านเกษตรกร และมีความต้องการความรู้ด้านคัดเลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่ รวมถึงขั้นตอนการปลูก/วิธีการปลูกอ้อยที่ทันสมัย 4) เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในการผลิตอ้อยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีปัญหาด้านการเกิดสภาวะแห้งแล้งและฝนทิ้งช่วง รวมถึงการขาดแคลนแรงงานในการตัดอ้อยในช่วงฤดูกาลตัดอ้อยของทุกๆ ปี ข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ ให้ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องสนับสนุนหรือจัดหา วัสดุที่ใช้ในการปรับปรุงดิน จัดหาแหล่งน้า จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ พัฒนาฝีมือแรงงานในการตัดอ้อย และต้องการให้เจ้าหน้าที่โรงงานน้ำตาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐลงพื้นที่บ่อยๆ คอยให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ยังขาดแคลนทรัพยากรการเกษตร
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3033
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146085.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.74 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons