Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3046
Title: | การดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนจังหวัด |
Other Titles: | Criminal proceedings of political office holders : study of provincial administrative organization |
Authors: | พงษ์สิทธิ์ อรุณรัตนากุล เอกนรินทร์ หนูมี, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี นักการเมือง--คดีอาญา การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหากระบวนการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามกฎหมายหรือข้อกำหนดเกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีที่ใช้ในปัจจุบัน (2) ศึกษาการดำเนินคดีอาญาในระบบไต่สวน การค้นหาความจริงโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องมีความกระตือรือร้น ในการค้นหาความจริงซึ่งจะไม่นําหลักยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 277 วรรคสองมาบังคับ (3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบังคับใช้กฎหมายหลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาและแนวคิดในการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขกฎหมาย โดยได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ทั้งเอกสารที่จัดทําเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ตำรา หนังสือ วารสาร บทความ วิทยานิพนธ์ ราชกิจจานุเบกษา เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง และตัวบทกฎหมาย เป็นต้น ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาการบังคับใช้ไม่มีประสิทธิภาพที่เพียงพอ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 และข้อกําหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2562 ยังมีช่องว่าง อาทิเช่น รัฐควรกำหนดให้ในวันยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องมีตัวหรือคุมตัวจำเลยมาศาล เพื่อป้องกันการหลบของจำเลย และ (2) รัฐควรกำหนดวิธีการปฏิบัติให้ชัดเจนในข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อป้องกันไม่ให้ศาลยึดถือสำนวนของคณะกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติเป็นหลักในการพิจารณา แต่ควรใช้เป็นแนวทางในการค้นหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม (3) รัฐควรจัดหน่วยงานสนับสนุนกิจการของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้มีหน่วยงานในการติดตามบังคับคดีด้วยตนเองขึ้นตรงต่อศาล ไม่ควรขึ้นตรงต่อกระทรวงยุติธรรม เพราะกระทรวงยุติธรรมมีรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรับผิดชอบ จึงอาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานหรืออนาคตทางราชการของผู้ปฏิบัติได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3046 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License