กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3049
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรนิคมสร้างตนเองเชียงพิณ จำกัด จังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of financial position and operation of Chiangpin Land Reseltlement Agricultural Cooperative Limited, Udonthani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โอภาวดี เข็มทอง
มะยุรี คำภาศรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตรนิคมสร้างตนเองเชียงพิณ--การเงิน
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาฐานะการเงินของสหกรณ์ การเกษตรนิคมสร้างตนเองเชียงพิณ จำกัด 2) ศึกษาผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรนิคม สร้างตนเองเชียงพิณ จำกัด 3) ศึกษาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านการเงินของสหกรณ์ วิธิการศึกษาที่ใช้ในครั้งนี้ เป็นการศึกษาในเชิงปริมาณ โดยค้นคว้าจากเอกสารข้อมูล รายงานกิจการประจำปีและรายงานของผู้สอบบัญชี 5 ปี คือ ปื 2548 - 2552 นอกจากนั้นจะเป็นข้อมูล จากระเบียบ ข้อบังคับของสหกรณ์เอกสารทางวิขาการ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากหน่วยงาน โดยที่การศึกษาเชิงปริมาณนี้ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์งบการเงินย่อส่วนตามแนวดิ่ง แนวโน้มและ อัตราส่วนทางการเงิน ซึ่งวิเคราะห์ถึงโครงสร้างการลงทุนและเงินทุน สภาพคล่องทางการเงิน ความสามารถในการก่อหนี้ ความสามารถในการใช้สินทรัพย์ และความสามารถในการทำกำไร ผลการศึกษาพบว่า 1) ฐานะทางการเงิน สหกรณ์มีโครงสร้างการลงทุนของสินทรัพย์ ในลูกหนี้เงินให้กู้ยืมระยะสั้นเป็นส่วนมาก โดยมีการจัดหาเงินทุนจากการการกู้ยืมมากกว่าการระดม ทุนจากภายในสหกรณ์เอง 2) ผลการดำเนินงาน สหกรณ์ประสบปัญหาด้านธุรกิจจัดหาสินค้ามา จำหน่ายเนื่องจากต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่สูง ซึ่งมีผลขาดทุนเฉพาะธุรกิจทุกปี ส่วนธุรกิจสินเชื่อสหกรณ์ ไม่สามารถเรียกเก็บหนี้จากเงินให้กู้ยืมของสมาชิกสหกรณ์ได้ตามกำหนด แต่ในภาพ รวมสหกรณ์มี ผลกำไรสุทธิตลอดระยะเวลาทั้ง 5 ปี โดยส่วนใหญ่กำไรจะมาจากดอกเบี้ยค้างรับจากเงินให้กู้และมี มูลค่าสูงขึ้นทุกปี 3) ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านการเงิน สหกรณ์มีอัตราหนี้สินต่อทุนของ สหกรณ์ทั้ง 5 ปี สูง และสูงกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานของสหกรณ์การเกษตรขนาดเดียว กัน ทำให้มีความ เสี่ยงทางการเงินสูงเพราะทุนของสหกรณ์ไม่สามารถคุ้มครองหนี้ได้ทั้งหมด รวมทั้งการนำสินทรัพย์ ทั้งสิ้นที่มีอยู่ของสหกรณ์ไปใช้ในการดำเนินงานเพื่อก่อให้เกิดรายได้ยังต่ำอยู่ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย มาตรฐานของสหกรณ์การเกษตรขนาดเดียวกัน เนื่องจากสินทรัพย์ส่วนหนื่งของสหกรณ์ยังด้อย คุณภาพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3049
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
123857.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons