Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3075
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อนวัตกรรมและผลิตภาพการผลิตรวมของอุสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษในประเทศไทย
Other Titles: Factors affecting innovation and total factor productivity of paper packaging industry in Thailand
Authors: มนูญ โต๊ะยามา
กรรณิการ์ ชนากานต์กร, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วสุ สุวรรณวิหค
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษ--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
บรรจุภัณฑ์กระดาษ--การผลิต
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อผลิตภาพการผลิตรวม 3) ปัจจัยภายในสถานประกอบการที่ส่งผลต่อนวัตกรรม และ 4) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนวัตกรรมต่อการเพิ่มผลิตภาพการผลิตรวมของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า 1) อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ใน พ.ศ. 2562 มีปริมาณการผลิต จำหน่ายและนำเข้ามีการขยายตัว ร้อยละ 2.42, 1.57 และ 2.78 ตามลำดับ การส่งออกหดตัว ร้อยละ 5.07 ค่าเฉลี่ยผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม ผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้รวมของอุตสาหกรรมอยู่ที่ร้อยละ 2.82, 6.76 และ 94.52 ตามลำดับ อุตสาหกรรมมีการพัฒนานวัตกรรมเนื่องจากการเติบโตของธุรกิจออนไลน์ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม 2) ปัจจัยที่มีผลต่อผลิตภาพการผลิตรวม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 ได้แก่ระดับการใช้นวัตกรรมในกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ และที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติ .05 ได้แก่ การฝึกอบรมและสถานประกอบการขนาดกลาง ซึ่งมีค่า R2 = 0.863 โดยระดับการใช้นวัตกรรมในกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ และการฝึกอบรมมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกับผลิตภาพการผลิตรวม กิจการขนาดกลางมีผลิตภาพการผลิตรวมสูงกว่ากิจการขนาดเล็ก 3) ผลจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ชี้ว่า นโยบาย กลยุทธ์ การบริหารจัดการทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริหารระดับสูง และการมีส่วนร่วมของผู้บริหารระดับสูงในกิจกรรมพัฒนาเทคโนโลยี มีส่วนสาคัญในการสร้างขีดความสามารถด้านนวัตกรรมและผลิตภาพการผลิต 4) ปัญหาสาคัญของอุตสาหกรรม ได้แก่ต้นทุนการดำเนินงานสูง และขาดแคลนนักวิจัยที่มีแนวคิดเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ อุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาความสามารถของบุคลากรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง และการถ่ายทอดความรู้ โดยมีข้อเสนอแนะ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงควรมีความชัดเจนของนโยบายและกลยุทธ์ การสร้างระบบบริหารจัดการภายในองค์กรที่มีความยืดหยุ่นการสื่อสารให้คนในองค์กรรับรู้เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการปฏิบัติที่มีเป้าหมายเดียวกัน และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและมีการร่วมมือระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อสร้างประโยชน์ทางด้านนวัตกรรมร่วมกัน
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3075
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons