Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3118
Title: การจัดการการผลิตสับปะรดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกสับปะรดภูเก็ต ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
Other Titles: Pineapple production management of Phuket Pineapple Grower Community Enterprise in Thepkasattri Sub-district, Thalang District Phuket Province
Authors: หฤษฎี ภัทรดิลก, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัจฉรา จิตตลดากร, อาจารย์ที่ปรึกษา
นภัสนันธ์ ชุมพรพันธุ์, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
สับปะรด--การผลิต.--ไทย--ภูเก็ต
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการผลิตสับปะรดภูเก็ตของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต และ2) วิเคราะห์การจัดการการผลิตสับปะรดภูเก็ตของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการผลิตสับปะรดของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกสับปะรดภูเก็ตสอดคล้องกับคำแนะนำทาง วิชาการในด้านการกำหนดระยะปลูก วิธีการปลูก การควบคุมวัชพืช การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การบังคับออกดอก และการปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต สำหรับประเด็นที่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกสับปะรดภูเก็ตปฏิบัติต่างจากคำแนะนำทาง วิชาการได้แก่ การเตรียมแปลงปลูก การเตรียมหน่อพันธุ์ การใส่ปุ๋ย การป้องกันกำจัดโรคและแมลง และการจัดบันทึกข้อมูล ทั้งนี้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถเก็บผลผลิตได้เฉลี่ย 4,301.92 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้เฉลี่ย 40,196.88 บาทต่อไร่ 2) จากการวิเคราะห์การจัดการการผลิตสับปะรดภูเก็ต พบว่า (1) วางแผนการผลิตไม่สอดคล้องกับการตลาดทำให้จำหน่ายผลผลิตได้ราคาต่า (2) ใส่ปุ๋ยในอัตราส่งกว่าคำแนะนำ (116.25 กิโลกรัมต่อไร่) และ (3) ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงผิดประเภท (ใช้ไดยูรอนในการกำจัดโรคและแมลง) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการการผลิตสับปะรดของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกสับปะรดภูเก็ต ดังนี้ (1) วางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับการตลาด (2) คัดหน่อพันธุ์ที่ใกล้เคียงและปลอดโรค (3) ลดอัตราและจำนวนครั้งในการใส่ปุ๋ย (4) เพิ่มความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันโรคยอดเน่าต้นเน่า โรคผลแกน รวมถึงสารเคมีป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ และไร และ (5) ให้ความสำคัญและใส่ใจในการจัดบันทึกข้อมูล
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3118
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146143.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.42 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons