Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3132
Title: การส่งเสริมการเกษตรตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกรในจังหวัดยะลา
Other Titles: Agriculture extension adhering to farmer field school approaches in Yala Province
Authors: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สนธิลา บุญมาก, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--ยะลา
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ และสถานภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ในจังหวัดยะลา (2) การดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกร (3) การยอมรับเทคโนโลยีด้านการปลูกข้าวของเกษตรกร ก่อนและหลังการเข้าร่วมการส่งเสริมการเกษตรตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการเกษตรตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกรผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 46.45 ปี สมรส ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่มีตำแหน่งทางสังคม แต่เป็นสมาชิกสถาบันกลุ่มเกษตรกร เกษตรกรมีสมาชิกในครัวเรือนโดยเฉลี่ย 6 คน แรงงานในการทำการเกษตรส่วนมากเป็นเพศหญิงโดยเฉลี่ย 2 คน มีพื้นที่ปลูกข้าวโดยเฉลี่ย 3.44 ไร่ และพื้นที่ปลูกข้าวเป็นที่ลุ่ม มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 16.43 ปี (2) ดำเนินงานตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกร โดยปฏิบัติการดำเนินการมากที่สุดร้อยละ 98.3 คือกิจกรรมการเข้าร่วมการอบรมตลอดฤดูกาลและสรุปและวางแผนสำหรับสัปดาห์ต่อไป การดำเนินงานตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกรของเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่ส่วนมากมีความรู้จากการอบรมของหน่วยงานในสังกัด โดยเลือกการส่งเสริมการเกษตรตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกรไปปฏิบัติในพื้นที่เพราะมีความเหมาะสมกับการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ โดยหาเกษตรกรเป้าหมาย สอบถามปัญหาและความต้องการของเกษตรกร รวมกลุ่มเกษตรกร วางแผนการดำเนินการตามช่วงฤดูกาลของพืช ในการคัดเลือกสถานที่ตั้งโรงเรียนเกษตรกร (แปลงฝึกปฏิบัติ) ให้เกษตรกรตกลงนัดหมายในพื้นที่เกษตรกรเป็นศูนย์กลาง และจับประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรกร เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและสรุปผล (3) เกษตรกรยอมรับและปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ มากที่สุดร้อยละ 82.8 ในการใช้ต้นกล้าที่มีอายุประมาณ 25-30 วันทำให้เกษตรกรมีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 91 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรไม่ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ คือการใช้เมล็ดันธุ์ข้าวจากแหล่งที่เชื่อถือได้(หน่วยงานราชการ) และการไถกลบตอซังเพื่อบำรุงดินหลังการเก็บเกี่ยว (4) เกษตรกรระบุว่ามีปัญหาด้านศัตรูข้าว ในระดับปานกลาง ปัญหาของเจ้าหน้าที่คือขาดความชำนาญ และประสบการณ์ วัสดุอุปกรณ์และไม่เพียงพอชวงเวลาเจ้าหน้าที่และเกษตรกรไม่ตรงกัน ทำให้ไม่ตรงกับช่วงอายุพืชที่มีปัญหา ข้อเสนอแนะของเกษตรกรคือเกษตรกรอายุมากขาดแรงงาน จึงควรส่งเสริมเกษตรกรรุ่นใหม่ ข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่คือควรพัฒนาให้มีความรู้และทักษะให้มากขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3132
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146807.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.45 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons