กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3154
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวของเกษตรกร อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension needs for rice production of farmers in Don Phut District of Saraburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เกษราภรณ์ เข็มขาว, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ข้าว--การผลิต--ไทย--สระบุรี.
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตข้าว (3) สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร (4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวของเกษตรกร และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตข้าวของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรที่ให้สัมภาษณ์มากกว่าครึ่งเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.35 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประสบการณ์ทานาเฉลี่ย 20.69 ปี ขนาดพื้นที่ทานาเฉลี่ย 34.29 ไร่ จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.3 คน ระดับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการผลิตข้าวจากแหล่งต่าง ๆในภาพรวระดบบัน้อย โดยได้รับข้อมูลจากสื่อบุคคลมากที่สุดโดยจากผู้นำชุมชน รองลงมาได้แก่ สื่อกลุ่ม สื่อมวลชน และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ (2) เกษตรกรประมาณ 2 ใน 3 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตข้าวในระดับปานกลาง (3) เกษตรกรผลิตข้าวโดยวิธีการหว่านน้าตม ใช้เมล็ดันธุ์อุัตราไร่ละ 25 กิโลกรัม มีการใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ศัตรูข้าวที่พบมาก คือโรคขอบใบแห้ง หนอนห่อใบข้าว หญ้าดอกขาว และหนู (4) เกษตรกรทานามีความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวในภาพรวมระดับมาก โดยเรียงลำดับความต้องการจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความรู้ในการผลิตข้าว มีความต้องการในระดับมาก โดยต้องการความรู้ด้านการดูแลรักษามากที่สุดในประเด็น การป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าว รองลงมาคือการป้องกันกำจัดวัชพืช ด้านการสนับสนุน มีความต้องการในระดับมาก โดยต้องการมากที่สุดในประเด็น การสนับสนุนปัจจัยการผลิต รองลงมาคือเจ้าหน้าที่ติดตามให้คำแนะนำสม่ำเสมอ ด้านการตลาดมีความต้องการในระดับมาก โดยต้องการมากที่สุดในประเด็น การจัดหาตลาดรับซื้อข้าว/ตลาดกลาง รองลงมาคือการวางแผนการผลิต และด้านวิธีการส่งเสริมการผลิตข้าว มีความต้องการในระดับปานกลาง โดยต้องการวิธีส่งเสริมการเกษตรแบบรายบุคคลมากที่สุด ได้แก่ การไปพบเจ้าหน้าที่ด้วยตัวเอง รองลงมาคือวิธีส่งเสริมการเกษตรแบบกลุ่ม ได้แก่ การจัดอบรมและฝึกปฏิบัติ และวิธีการส่งเสริมการเกษตรแบบสื่อมวลชนมีความต้องการน้อยที่สุด ได้แก่ โปรแกรม/แอปพลิเคชัน และ (5) เกษตรกรมีปัญหาในระดับมากที่สุด ได้แก่ ราคาผลผลิตข้าวมีแนวโน้มลดลง ที่นาเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ เจ้าของโรงสีหรือพ่อค้าคนกลางกดราคา ด้านข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตข้าว หน่วยงานราชการควรช่วยเหลือให้ราคาข้าวสูงขึ้น และควรบริหารจัดการนำให้เพียงพอกับการทำการเกษตร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3154
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
147185.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons