Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3159
Title: | การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรในการดูแลสุขภาวะในอำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
Other Titles: | Local wisdom utilization for health care by farmers in Raman District of Yala Province |
Authors: | บาเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา กัสมัน ยะมาแล, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน--ไทย--ยะลา สุขภาวะ--การดูแล การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทั่วไป เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร (2) สุขภาวะและการดูแลสุขภาวะของเกษตรกร (3) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาวะตนเองของเกษตรกร (4) ความเชื่อและการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาวะของเกษตรกร (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาวะเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาวะ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายัูระหว่าง 31-40 ปี โดยมีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาจบการศึกษาระดับประถมศึกษา นับถือศาสนาอิสลามทั้งหมด ส่วนผู้ดูแลสุขภาวะด้วยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น นั้นได้รับการถ่ายทอดความรู้ในการรักษาโรคต่าง ๆ มาจากบรรพบุรุษ เช่น พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย มีการเรียนรู้ก่อนเรมิรักษาเป็นระยะเวลา 8-15 ปี อาชีพหลักคืออาชีพการทำสวนยางพารา อาชีพรองคือการทำสวนผลไม้และทานา ผู้ดูแลสุขภาวะต้องเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมสูง และมีความรู้ด้านศาสนา (2) ปัญหาสุขภาวะของเกษตรกรที่มีอาการมากที่สุดคือเอ็นข้อมืออักเสบเป็นประจำรองลงมามีอาการท้องผูกเป็นประจำซึ่งการดูแลสุขภาวะของเกษตรกรโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (3) ด้านความรู้ในการดูแลสุขภาวะตนเอง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง แต่มีเกษตรกรส่วนน้อยที่ตอบถูกต้องในประเด็น การสวมรองเท้าออกจากบ้านทึกครั้งจะช่วยป้องกันโรคพยาธิ (4) ความเชื่อและการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาวะพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูงมาก และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาวะได้ใช้วิธีการนวด การใช้สมุนไพร และการใช้คาถา ซึ่งผู้ได้รับการรักษาระบุว่ามีอาการดีขึ้น (5) ปัญหาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาวะของเกษตรกรคือวิธีการรักษา ด้านการคมนาคม และความสะดวก ส่วนปัญหาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาวะของผู้ดูแลสุขภาวะคือสมุนไพรที่ใช้ในการรักษามีไม่เพียงพอ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3159 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
147196.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License