Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3170
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorรภัทร กันทาสุข-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2023-02-13T04:31:24Z-
dc.date.available2023-02-13T04:31:24Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3170-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) ระดับการมีส่วนร่วมในการดําเนินธุรกิจของสมาชิก 2) กลยุทธ์การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดําเนินธุรกิจของสมาชิก และ 3) ข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรคในการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดําเนินธุรกิจของสมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคขุนในเขตปฏิรูปที่ดินปางศิลาทอง จํากัด จังหวัดกำแพงเพชร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากข้อมูลทั่วไปของสหกรณ์ปี 2557-2559 คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และสมาชิกชั้นนําของสหกรณ์ แบบเจาะเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง จํานวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษา แบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบวา สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคขุนในเขตปฏิรูปที่ดินปางศิลาทอง จํากัด ปี 2559 มีสมาชิก 376 ราย ทุนดําเนินงาน 84.72 ล้านบาท ดําเนินธุรกิจ จัดหาสินค้ามาจําหน่าย สินเชื่อ รวบรวมผลผลิต และรับเงินฝาก ปริมาณธุรกิจ 118.14 ล้านบาท กำไรสุทธิ 3.86 ล้านบาท 1) ระดับการมีส่วนร่วมในการดําเนินธุรกิจของสมาชิกตาม ระบบประเมินมาตรฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ ร้อยละ 70-79 เท่ากับปี 2558 แต่สูงกว่าปี 2557 2) กลยุทธ์การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดําเนินธุรกิจของสมาชิก ประกอบด้วย (1) การวางแผนกลยุทธ์มีการ กำหนดวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน และกำหนดเป้าหมายในการมีส่วนรวมในปี 2561 ร้อยละ 100 และมีการวางแผนการส่งเสริมการดําเนินธุรกิจของสหกรณ์ อยางเป็นระบบ ตั้งแต่การวางแผน การแบ่ง ทีมงาน การมอบหมายงาน การลงพื้นที่ และการประชุมติดตามผล (2) การนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติได้แก่ การดําเนินการ ตามกระบวนการวิธีการดําเนินการอย่างเป็นขั้นตอน และการสร้างแรงจูงใจส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดําเนิน ธุรกิจของสมาชิก (3) การควบคุมและการประเมินผลเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย การกำหนดแนวทางในการส่งเสริม การมีส่วนร่วม การจัดรูปแบบโครงสร้างสถานที่ของสหกรณ์ การจัดอบรมสัมมนาฝ่ายจัดการอย่างจริงจัง มีวิธีการ ติดต่อสื่อสารต่างๆ กับสมาชิกหลายช่องทาง มีวิธีการสร้างกระบวนการเรียนรู้กับสมาชิก กำหนดผู้มีอํานาจในการ ตัดสินใจคนสุดท้ายชัดเจน มีการเตรียมความพร้อมที่จะเป็นผู้นําสหกรณ์ในการดําเนินการสหกรณ์ต่อไป และสรุป เหตุผลสําคัญที่ทําให้สมาชิกมามีส่วนร่วมกับสหกรณ์คือ การดําเนินธุรกิจที่ครบวงจร การฝึกอบรมปฏิบัติจริง และ สหกรณ์จะติดตามดูแลเป็นระยะๆ 3) ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดําเนินธุรกิจของสมาชิก (1) การทํางานของคณะกรรมการต้องพิจารณาความเป็นไปได้และจับต้องได้จริง (2) ฝ่ายจัดการต้องให้บริการ ด้วยความเต็มใจและความเคารพสมาชิก และ (3) สหกรณ์มีความน่าเชื่อถือ มั่นคง และเอาใจใส่สมาชิกทุกราย ส่วนปัญหา คือ บุคคลที่ต้องการเข้ามาเป็นสมาชิกกับสหกรณ์มีจํานวนมากแต่สหกรณ์ไม่สามารถรับได้ เนื่องจาก ทุนสะสมภายในยังมีน้อยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคขุนในเขตปฏิรูปที่ดินปางศิลาทอง--สมาชิกth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สหกรณ์th_TH
dc.titleกลยุทธ์การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของสมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคขุนในเขตปฏิรูปที่ดินปางศิลาทอง จำกัด จังหวัดกำแพงเพชรth_TH
dc.title.alternativeStrategies to promote participation in the business of cooperatives' member beef fattening farmer in land reform Pang Sila Thong Cooperative Ltd., Kamphaeng Phet Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to study 1) participation level in the business of members, 2) strategies to promote participation in the business of members, and 3) suggestions and problems in participation in the business of the Cooperative Members Beef Fattening Farmer in Land Reform Pang Sila Thong Cooperative Ltd. Kamphaeng Phet Province. This qualitative research was conducted through the study from general information of the Cooperatives in the year 2014-2016, a number of 16 management committee members and leading cooperatives members by purposive sampling with concerned people. Study tool was semi-structured interview form. Data was analyzed by percentage as well as content analysis. From the study results, the followings were found. There were 376 members in the Cooperative Members Beef Fattening Farmer in Land Reform Pang Sila Thong Cooperative Ltd. Kamphaeng Phet Province with a capital fund 84.72 million baht for running business i.e. selling goods, loans, products collection and deposits. Quantity in business was 118.14 million baht and net profit was 3.86 million baht. 1) Participation level in the business of members according to the Cooperative Promotion Department’s standard evaluation form for cooperatives and agriculture groups showed 70%-79% of their participation, the same as in 2015 but higher than 2014. 2) Strategies to promote participation in the business of members composed of the followings. (1) Strategies Planning included clarified identification of objectives in participation and identification of 100% participation in 2018 by systematically planning in doing business from planning, forming teamwork, assigning site visits and follow-up meetings. (2) Implementation of Strategies included stepby-step implementation process and building members’ motivation in business participation. (3) Strategic Evaluation and Control comprised identification of participation promotion, structure lay-out design of cooperatives office, active seminar meetings for management committee, availability of diverse communication channels with members, how to create learning process with members, clarified identification of final decision maker, readiness preparation for future cooperatives leaders, conclusion of reasons for members’ business participation through full-cycle business and practical workshop training under periodical follow-up. 3) Suggestions for members’ participation in the business were as follows. (1) Possibility and concrete work performance of the committee. (2) Management committee’s willingness and sincere service with respect to members. (3) Reliable cooperatives with stability and taking care of all members. Problems: a large number of people would like to be members of the Cooperatives but impossible due to small accumulated internal funden_US
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
154968.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.39 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons