Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3181
Title: | แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธร |
Other Titles: | Operational motivation of Agricultural Co-operatives' Officers in Yasothon Province |
Authors: | อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ ราตรี ป้องสนาม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี การจูงใจในการทำงาน--การศึกษาเฉพาะกรณี การจูงใจ (จิตวิทยา) การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลในการ ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธร 2) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธร 3) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธรจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ 4) แนวทางการรักษาและการปรับปรุงพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตร ในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธร จำนวนทั้งหมด 97 คน รวมทั้งกรรมการและผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธรจำนวนทั้งหมด 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1) เจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และมีอายุต่ำกว่า 35 ปี เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส และมีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีเวลาในการปฏิบัติงานต่อวัน 6 – 8 ชัวโมง มีอายุงานต่ำกว่า 10 ปี และมีอัตราเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมากโดยปัจจัยด้านความสำเร็จของงานมีแรงจูงใจในระดับมากที่สุด ส่วนปัจจัยด้านผลตอบแทนและความมั่นคงมีแรงจูงใจในระดับน้อยที่สุด 3) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ พบว่า เพศชาย มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมากกวาเพศหญิง อายุตั้งแต่ 35 ปี มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมากกว่า อายุมากกว่า 45 และ อายุ 35 -45 ปี สถานภาพโสด มีแรงจูงใจในการปฏิบัติมากกว่าสมรสและหม้าย ระดับการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมากกว่าอายุ 10 – 20 ปี และ 21 ปี ขึ้นไป และอัตราเงินเดือน 25,000 –35,000 บาท มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมากกว่าอัตราเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 และ 15,000-25,000 บาท 4) แนวทางการรักษาและ การปรับปรุง พัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่จะต้องมีการพัฒนาคน พัฒนางาน ทุกคนมีส่วนร่วม มุ่งสร้างและพัฒนาทีมงาน เสริมสร้างขวัญกาลังใจ รวมทั้งการพิจารณาความชอบและเลื่อนตำแหน่ง ด้วยความเสมอภาคและยุติธรรม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3181 |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
146253.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License