กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/318
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาตัวแบบการพยากรณ์ผลผลิตมันสำปะหลังด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a model to predict cassava yield using data mining techniques
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิภา เจริญภัณฑารักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยา พรพัชรพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปรีชา ลิ้มตระกูล, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวแบบการพยากรณ์ผลผลิตมันสำปะหลังด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล 2) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการพยากรณ์ผลผลิตมันสำปะหลัง การสืบค้นข้อมูล และการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบผ่านเว็บไซต์ โดยใช้ข้อมูลปัจจัยการผลิตมันสำปะหลังจากสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อสร้างตัวแบบพยากรณ์ โดยใช้เทคนิคการจำแนกประเภทข้อมูล (Classification) ด้วยวิธีต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree) โดยจะใช้อัลกอริทึม จำนวน 5 ตัว ได้แก่ J48, Random Tree, Simple Cart, Naïve Bayes, และ LAD Tree แล้วทำการทดสอบตัวแบบการพยากรณ์ด้วยวิธี Cross-validation Test พบว่ายังให้ค่าแม่นยำเพียง 70.96% ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่ายังไม่ดีพอ จึงได้ปรับปรุงวิธีการทดสอบโดยการแบ่งชุดข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลเรียนรู้ (Training Set) และข้อมูลทดสอบ (Test Set) จำนวน 5 ชุด แล้วทำการสร้างตัวแบบการพยากรณ์ด้วยอัลกอริทึม J48, Random Tree, Simple Cart, Naïve Bayes และ LAD Tree อีกครั้ง พบว่ามีค่าความแม่นยำสูงขึ้นกว่าวิธี Cross-validation Test ในทุกอัลกอริทึม ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกตัวแบบการพยากรณ์ที่ให้ค่าความแม่นยำสูงสุด ในส่วนของข้อมูลทดสอบ (Test Set) อัลกอริทึม J48 ให้ค่าความแม่นยำสูงสุดที่ 75.64% อัลกอริทึม Simple Cart ให้ค่าความแม่นยำสูงสุดที่ 80.12% และอัลกอริทึม LAD Tree ให้ค่าความแม่นยำสูงสุดที่ 89.55 % ส่วนอัลกอริทึม Random Tree และอัลกอริทึม Naïve Bayes ให้ค่าความแม่นยำต่ำกว่า 70% จึงไม่นำมาพิจารณา จากนั้นนำอัลกอริทึมทั้งสามตัวที่ให้ค่าความแม่นยำสูงสุดไปพัฒนาตัวแบบการพยากรณ์ผลผลิตมันสำปะหลังด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล ระบบสารสนเทศ และการสืบค้นข้อมูล ในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น ซึ่งระบบสามารถสืบค้น ปรับปรุง เพิ่มเติม บันทึก และแสดงรายงานข้อมูลมันสำปะหลังได้และผลการตอบแบบประเมินความพึงพอใจผ่านเว็บไซต์ของระบบสารสนเทศดังกล่าว จากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ผู้ใช้งานทั่วไป และผู้ดูแลระบบ รวมทั้งสิ้น 30 คน มีความพึงพอใจในการใช้งานระบบดังกล่าวเฉลี่ยที่ 91% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ดีมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/318
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Science Tech - Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_150207.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons