Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3199
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชนบนพื้นที่สูงของโครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Factors influencing the quality of life of people in highland communities of the Royal Project, Chiang Mai Province
Authors: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พนมพัทธ์ สมิตานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภควรรณ ไชยป๋าน, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
คุณภาพชีวิต--ไทย--เชียงใหม่
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชนบนพื้นที่สูงของโครงการหลวงจังหวัดเชียงใหม่ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชนบนพื้นที่สูงของโครงการหลวงจังหวัดเชียงใหม่ และ (3) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชนบนพื้นที่สูงของโครงการหลวงจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบผสมวิธี ประชากรสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่เขตในชุมชนบนพื้นที่สูงในโครงการหลวงจังหวัดเชียงใหม่ และเกี่ยวข้องกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในโครงการหลวงจำนวน 27 แห่ง 15 อำเภอ มีจำนวน 117,693 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 399 คน ได้จากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโรยามาเน่ และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ส่วนผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก คือ ประธานโครงการหลวงแม่ริม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในโครงการหลวง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าเอฟ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ส่วนการวิเคราะห์ตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพใช้เทคนิค SWOT เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชนบนพื้นที่สูงของโครงการหลวงจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในระดับมาก และไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 80 (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชนบนพื้นที่สูงของโครงการหลวงจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ปัจจัยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และปัจจัยจูงใจ และ (3) ข้อเสนอแนะที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชนบนพื้นที่สูงของโครงการหลวงจังหวัดเชียงใหม่ คือ ประชาชนควรสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายความช่วยเหลือ จากสถาบัน หน่วยงานต่าง ๆ และเชื่อมโยงประชาชนในชุมชนเพื่อเรียนรู้องค์ความรู้จากศูนย์หรือโครงการต่าง ๆ ของโครงการหลวงโดยการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน และควรบูรณาการความรู้และเทคโนโลยีใหม่ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของชุมชนบนพื้นที่สูงในแต่ละแห่งโดยคำนึงถึงหลักของวิถีชีวิตดั้งเดิมของประชาชนในชุมชนบนพื้นที่สูง รวมถึงการนำงานวิจัยและพัฒนาจากโครงการหลวงมาประยุกต์ใช้ในชุมชนบนพื้นที่สูง ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ชุมชนได้มีความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการพัฒนา และสร้างรายได้ให้ตนเอง
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3199
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม29.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons