กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3201
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อหนี้สินครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting household debt of farmers in Lop Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพล จตุพร, อาจารย์ที่ปรึกษา
วสุ สุวรรณวิหค, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุริยะ หาญพิชัย, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน
เกษตรกร--ไทย--ลพบุรี--การเงินส่วนบุคคล.
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะหนี้สินครัวเรือนเกษตรกร และ (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อหนี้สินครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ราย สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจากเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 52 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพหลักปลูกอ้อย อาชีพรองรับจ้างทั่วไป สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4 คน ไม่ดื่มสุรา แต่ซื้อฉลากกินแบ่งรัฐบาลหรือหวย ไม่มีโรคประจำตัว มีที่ดินทำกินเฉลี่ย 14.30 ไร่ต่อครัวเรือน ปลูกพืชเชิงเดี่ยว มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของตนเอง ใช้นํ้าฝนทำการเกษตร มีทรัพย์สินเฉลี่ย 419,425 บาท มีเงินออมเฉลี่ย 9,238 บาทต่อปี มีรายได้เฉลี่ย 123,856.30 บาทต่อปี มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 74,735.50 บาทต่อปี ครัวเรือนเกษตรกรมีหนี้สินครัวเรือนเฉลี่ย 83,992.50 บาท ส่วนใหญ่มีหนี้สินกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กู้ยืมเพื่อใช้ในการผลิตทางการเกษตร โดยหนี้สินจำแนกตามลักษณะการเพาะปลูก พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีหนี้สินเฉลี่ยมากที่สุด 104,223.80 บาท รองลงมาคือ การปลูกอ้อย มีหนี้สินเฉลี่ย 88,422.54 บาท การปลูกมันสำปะหลัง มีหนี้สินเฉลี่ย 80,530.77 บาท และการปลูกข้าว มีหนี้สินเฉลี่ย 80,147.83 บาท ตามลำดับ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อหนี้สินครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดลพบุรีโดยพิจารณานัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า การออม รายได้นอกภาคการเกษตร และรายจ่ายในภาคการเกษตร เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อปริมาณหนี้สินครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี ในขณะที่ รายจ่ายนอกภาคการเกษตร เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อปริมาณหนี้ครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3201
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons