กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3206
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนในจังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Health communications to prevent Dengue Fever for residents of Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรรณภัทร ประทุมศรี, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การสื่อสารทางการแพทย์
ไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุม--ไทย--สงขลา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การใช้สื่อและสารเพื่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกของหน่วยงานด้านสาธารณสุขในเขตจังหวัดสงขลา 2) การเปิดรับสื่อเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก 3) ความพึงพอใจต่อรูปแบบการนำเสนอของสื่อเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก 4) ผลของการสื่อสารสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5) เปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับผลของการสื่อสารสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 6) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกและความพึงพอใจต่อรูปแบบการนำเสนอของสื่อกับผลของการสื่อสารสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และ 7) ความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลของผู้นำ ทางความคิดกับผลของการสื่อสารสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในจังหวัดสงขลา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านการสื่อสารสุขภาพ ในจังหวัดสงขลาที่มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 5 ปี ระดับเขต จังหวัด อำเภอ ตำบล รวม 4 คน ระดับเขตและจังหวัดคัดเลือกแบบเจาะจง ระดับอำเภอและระดับตำบลใช้วิธีการสุ่มโดยการจับฉลาก เครื่องมือวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) หน่วยงานด้านสาธารณสุขในเขตจังหวัดสงขลาใช้สื่อสิ่งพิมพ์มากที่สุด รองลงมาคือ สื่อมวลชนอื่นๆ สื่อกิจกรรม สื่อออนไลน์และสื่อสังคม หน่วยบริการสาธารณสุข และสื่อบุคคล ตามลำดับ โดยใช้ประเด็นสารมาตรการ 3 เก็บและหลัก 5 ป. ในการสื่อสารเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เปิดรับสื่อเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับปานกลางโดยเปิดรับสื่อโทรทัศน์ระดับสูง 3) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการนำเสนอสื่อในระดับปานกลาง โดยพึงพอใจต่อรูปแบบข่าวระดับสูง 4) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับปานกลาง มีทัศนคติและพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับสูง 5) ลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกันมีการป้องกันโรคไข้เลือดออกแตกต่างกันดังนี้ (1) ที่อยู่อาศัยและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกแตกต่างกัน (2) พื้นที่ที่อยู่อาศัย อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกแตกต่างกัน (3) อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีทัศนคติต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกแตกต่างกัน (4) ที่อยู่อาศัยและระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกแตกต่างกัน 6) การเปิดรับสื่อเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกและความพึงพอใจต่อรูปแบบการนำเสนอของสื่อเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทัศนคติที่มีต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออก แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก และ 7) อิทธิพลของผู้นำทางความคิดไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่ระดับนัยสำคัญ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.(นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3206
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons