Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3213
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorชำนาญ เชาวกีรติพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorกรกนก แป้นศรี, 2535--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-02-14T06:56:18Z-
dc.date.available2023-02-14T06:56:18Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3213-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดาวฤกษ์และระบบสุริยะหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับกรอบแนวคิดเติบโตของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดาวฤกษ์และระบบสุริยะ ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับกรอบแนวคิดเติบโต และ (3) เปรียบเทียบกรอบแนวคิดเติบโต เรื่อง ดาวฤกษ์และระบบสุริยะ ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับกรอบแนวคิดเติบโต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคการศึกษา 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ กรุงเทพมหานคร ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มจำนวน 2 ห้องเรียน รวม 90 คน แล้วจับสลากห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับกรอบแนวคิดเติบโต (2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดาวฤกษ์และระบบสุริยะ และ (4) แบบวัดกรอบแนวคิดเติบโต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง ดาวฤกษ์และระบบสุริยะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับกรอบแนวคิดเติบโตสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดังกล่าวของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง ดาวฤกษ์และระบบสุริยะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับกรอบแนวคิดเติบโต สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) กรอบแนวคิดเติบโตหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับกรอบแนวคิดเติบโต สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์th_TH
dc.subjectวิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--กรุงเทพฯth_TH
dc.titleผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับกรอบแนวคิดเติบโตที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและกรอบแนวคิดเติบโต เรื่อง ดาวฤกษ์และระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 กรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeThe effects of 5 STEPS and growth mindset instruction on scientific learning achievement and growth mindset in the topic of Stars and Solar System of grade 10 students at Bodindecha (Sing Singhaseni) 2 School in Bangkok Metropolisth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to compare the post-learning achievement in the topic of Stars and Solar System of Grade 10 students, who learned through the 5 STEPS and growth mindset instruction, with the counterpart learning achievement of students who learned through the traditional teaching method; (2) to compare learning achievements in the topic of Stars and Solar System of the students before and after learning through the 5 STEPS and growth mindset instruction; and (3) to compare growth mindsets in the topic of Stars and Solar System of the students before and after learning through the 5 STEPS and growth mindset instruction. The research sample consisted of 90 Grade 10 students in two intact classrooms of Bodindecha (Sing Singhaseni) 2 School in Bangkok Metropolis during the second semester of the academic year 2020, obtained by cluster random sampling. Then, one classroom containing 45 students was randomly assigned as the experimental group; the other classroom also containing 45 students, the control group. The employed research instruments were (1) instructional plans for the 5 STEPS and growth mindset instruction; (2) instructional plans for the traditional teaching method; (3) a learning achievement test on the topic of Stars and Solar System; and (4) a scale to assess growth mindset. Statistics employed for data analysis were the mean, standard deviation, and t-test. The research results showed that (1) the post-learning achievement in the topic of Stars and Solar System of Grade 10 students, who learned through the 5 STEPS and growth mindset instruction, was significantly higher than the post-learning counterpart achievement of students who learned through the traditional teaching method at the .05 level of statistical significance; (2) the post-learning achievement in the topic of Stars and Solar System of Grade 10 students, who learned through the 5 STEPS and growth mindset instruction, was significantly higher than their pre-learning counterpart achievement at the .05 level of statistical significance; and (3) the post-learning growth mindset of Grade 10 students, who learned through the 5 STEPS and growth mindset instruction, was significantly higher than their pre-learning growth mindset at the .05 level of statistical significanceen_US
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.42 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons