กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3266
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งเสริมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมถ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors enhancing web-based instruction for part-time undergraduate students of Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุภลักษณ์ จันทรวงศ์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์--นักศึกษา--การสอนด้วยสื่อ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
คอมพิวเตอร์จัดการสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อ (1)ศึกษาปัจจัยด้านนำเข้าที่ส่งเสริมการเรียนการสอนผ่าน เครือข่าย (2)ศึกษาปัจจัยด้านกระบวนการที่ส่งเสริมการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย และ (3)ศึกษาปัจจัยด้านผลลัพธ์ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย กสุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ จำนวน 115 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาค พิเศษ ชั้นปี 4 ภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 345 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1)ปัจจัยด้านนำเข้าที่ส่งเสริมการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย คือ ปัจจัยด้านผู้เรียน ในรายด้านปัจจัยนำเข้าด้านนำเรียนต้องมีวินัยในการเรียน มีความรับผิดชอบในการเรียน และมีสภาพร่างกายที่แข็งแรง ด้านผู้สอนควรมีความรู้พื้นฐานในการสอนผ่านเครือข่าย มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ มีความสามารถในการสร้างแรงจูงใจ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้านผู้บริหารควรกำหนดนโยบายสนับสนุนการเรียนการสอน และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอน ด้านเนื้อหาควรสอนเนื้อหาพุทธพิสัยและจิตตพิสัย ด้านโครงสร้างหลักสูตรควรจัดทำบทเรียนเฉพาะกลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไป และด้านโครงสร้างพื้นฐานควรมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการอย่างเพียงพอ (2) ปัจจัยด้านกระบวนการที่ส่งเสริมการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย คือ ปัจจัยด้านการจัดการการเรียน ในรายด้านปัจจัยกระบวนการด้านการจัดการการเรียนควรมีการวางแผนการเรียนการสอน และควรแจ้งแผนการเรียนการสอนให้นักศึกษาทราบ ด้านการนำเสนอบทเรียนส่วนประกอบหลักของบทเรียนควรมีแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน เนื้อหาสาระควรมีข้อความ ภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว และเสียง การนำเสนอเนื้อหาควรเสนอ 3 ส่วน คือ เกริ่นนำ บรรยาย และสรุปกิจกรรมระหว่างเรียนควรมีการฝึกปฏิบัติ แนวตอบควรมีให้ผู้เรียนตรวจคำตอบได้ ส่วนประกอบเสริมของบทเรียนควรมีกระดานข่าว และฐานความรู้เกี่ยวกับบทเรียน ด้านการประชาสัมพ้นธ์ควรมีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไชต์มหาวิทยาลัยและป้ายนิเทศ และ (3)ปัจจัยด้านผลลัพธ์ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย คือ ปัจจัยด้านการติดตามผลการเรียนในรายด้านปัจจัยผลลัพธ์ด้านการติดตามผลการเรียนควรมีการติดตามผลการเรียนอย่าง ต่อเนื่อง และติดตามการนำความรู้ไปใชัในการศึกษาในวิชาอื่น ๆ ด้านการประเมินผลการเรียนควรมีการสอบกลาง ภาค ปลายภาค และมีการประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียนในแต่ละหน่วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3266
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_118686.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons