Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/329
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัศนา หาญพลth_TH
dc.contributor.authorชลดา สมัครเกษตรการ, 2512-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-09T02:01:03Z-
dc.date.available2022-08-09T02:01:03Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/329en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้สารสนเทศของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 (2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศของครูผูสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 จําแนกตามกลุ่มสาระที่สอน วิทยฐานะของครู และขนาดของโรงเรียน (3) ศึกษาปัญหาการใช้สารสนเทศของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 (4) เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 จําแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอน วิทยฐานะของครู และขนาดของโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 จํานวน 417 คน โดยใชประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมีการใช้สารสนเทศ โดยรวมในระดับมาก จําแนกเป็นรายด้าน พบว่ามีการใช้สารสนเทศด้านการดํารงชีวิตและครอบครัวระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นการใช้สารสนเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี พบว่า ครูผู้สอนทั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยีใช้สารสนเทศมากกว่า ครูผู้สอนเฉพาะการงานอาชีพ และครูผู้สอนเฉพาะเทคโนโลยี ครูอัตราจ้างมีการใช้สารสนเทศมากกว่าครูผู้ช่วย ครูระดับปฏิบัติการ (ครูค.ศ.1) ครูชํานาญการ (ครูค.ศ.2) และครูชํานาญการพิเศษ (ครูค.ศ.3) และครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดกลาง มีการใช้สารสนเทศมากกว่าครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขนาดใหญ่ (3) ปัญหาการใช้สารสนเทศโดยรวมอยูในระดับมาก 3 อันดับแรกคือ สารสนเทศที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการนําไปใช้ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดของสถานศึกษาถูกจัดเก็บไม่เป็นหมวดหมู่ทําให้หายาก และทรัพยากรสารสนเทศในแหล่งสารสนเทศภายนอกไม่สามารถขอยืมกลับได้ (4) เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศ พบว่าครูผู้สอนทั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมีระดับปัญหาการใช้สารสนเทศ มากกว่า ครูผู้สอนเฉพาะการงานอาชีพ และครูผู้สอนเฉพาะเทคโนโลยี ครูอัตราจ้างมีระดับปัญหาการใช้สารสนเทศมากกว่าครูผู้ช่วย ครูระดับปฏิบัติการ (ครูค.ศ.1) ครูชํานาญการ (ครูค.ศ.2) และครูชํานาญการพิเศษ (ครูค.ศ.3) และครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับปัญหาการใช้สารสนเทศมากกว่าครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขนาดกลางth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectสารสนเทศ--การศึกษาการใช้th_TH
dc.subjectครูกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพth_TH
dc.titleการใช้สารสนเทศของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42th_TH
dc.title.alternativeInformation use by teachers in learning area of occupations and technology under the Secondary Education Service Area Office 42en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to (1) study information use by occupations and technology teachers under the secondary education service area office 42; (2) compare information use by occupations and technology teachers under the secondary education service area office 42, classified by learning area, teacher’s educational qualification and size of the school; (3) study the problems of information use by occupations and technology teachers under the secondary education service area office 42; (4) compare the problems of information use by learning area of occupations and technology’s teachers under the secondary education service area office 42, classified by learning area, teacher’s educational qualification and size of the school. The population consisted of 417 occupations and technology teachers under the secondary education service area office 42. The research tool was a questionnaire. Statistics used for data analysis were percentage, means and standard deviation. The results were as follows. (1) Occupations and technology teachers mostly use information at a high level, and when classified by each aspect, the most used were living and working followed by information technology and communication. (2) Comparing information use by occupations and technology teachers, it was found that teachers who teach both subjects used information more than teachers who teach only one of the subjects. Contract teachers used information more than assistant teachers, practitioner level teachers (K1 teachers), professional level teachers (K2 teachers) and senior professional level teachers(K3 teachers).Teachers in medium-sized schools used information more than teachers in small schools or large schools. (3) The problems of information use were mostly at a high level. The most common problems were the information received was insufficient, information resources in the school library were not arranged by classification and so was difficult to find, and external sources could not be borrowed. (4) Comparing the problems of information use by teachers in occupations and technology, it was found that teachers who teach both subjects had more problems in using information than teachers who teach only one of the subjects. Contract teachers had more problems in using information than assistant teachers, practitioner level teachers (K1 teachers), professional level teachers (K2 teachers) and senior professional level teachers (K3 teachers). Teachers in large schools had more problems in using information than teachers in small schools and medium sized schools.en_US
dc.contributor.coadvisorชำนาญ เชาวกีรติพงศ์th_TH
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
155154.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.52 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons