กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3324
ชื่อเรื่อง: การพิจารณาคดีเกี่ยวกับคำสั่งของฝ่ายปกครอง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Judicial review on the administrative orders the Labour Protection Act B.E.2541 (1998)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินาฏ ลีดส์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กิ่งดาว สีสาวแห, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
กฎหมายแรงงาน--การพิจารณาคดี
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักกฎหมายเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครอง คดีปกครองและคดีแรงงาน (2) ศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครอง คดีปกครองและคดีแรงงานในประเทศไทย (3) ศึกษาวิเคราะห์อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับคำสั่งของฝ่ายปกครองตามกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงาน (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาคําสั่งของฝ่ายปกครองตามกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงาน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยทางเอกสาร จากตัวบทกฎหมาย หนังสือ ตำราทางกฎหมาย รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความและเอกสารทางวิชาการ คําพิพากษาของศาล สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) คำสั่งทางปกครองเป็นคำสั่งซึ่งออกโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยการใช้อำนาจทางปกครองและมีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของบุคคล โดยหลักแล้วจะมีการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายโดยศาลปกครองเว้นแต่บางกรณีที่มีกฎหมายกำหนดอำนาจศาลเป็นอย่างอื่น เช่น คดีแรงงาน (2) คำสั่งทางปกครองตามกฎหมายไทยเป็นไปตามนิยามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งโดยหลักมีการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายโดยศาลปกครอง เว้นแต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนาญพิเศษ เช่น คดีแรงงาน (3) คำสั่งของฝ่ายปกครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงาน อย่างไรก็ดียังมีบางกรณี เช่น กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ซึ่งตามหลักทั่วไปพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) กำหนดให้ศาลปกครองเป็นผู้พิจารณา แต่เนื่องจากคำสั่งตามกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงานดังกล่าวมีลักษณะเกี่ยวข้องกับคดีแรงงานจึงมีข้อพิจารณาว่าควรให้ศาลแรงงานเป็นผู้พิจารณา (4) ผู้ศึกษาจึงขอเสนอให้แก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ในกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ควรให้ศาลแรงงานเป็นผู้พิจารณาเพื่อความสะดวกและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายด้านคดีแรงงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3324
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons