Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3365
Title: ความพึงพอใจในการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
Other Titles: Satisfaction with learning via computer network of Mathayom Suksa I students of Patumwan Demonstration School, Srinakharinwirot University
Authors: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เสกสรรค์ หงษ์หิรัญพันธ์, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ที่เรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จ านวน 160 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความพึงพอใจในแต่ละด้าน ปรากฏผลดังนี้ (1) ความพึงพอใจต่อการออกแบบหน้าเว็บเพจอยู่ในระดับมาก ได้แก่ โครงสร้างหน้าเว็บเพจมีความเหมาะสม สื่อการเรียนที่เป็นเว็บเพจที่เขียนด้วยภาษาจาวาสคริปต์ ตัวอักษรบนหน้าเว็บเพจมีความเหมาะสม การแสดงรายการเนื้อหา และสื่อการเรียนรู้บนหน้าเว็บเพจหลัก (2) ความพึงพอใจต่อเนื้อหาที่เรียนอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ช่วยให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ ฝึกการใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และเป็นเรื่องใกล้ตัวทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น (3) ความพึงพอใจต่อสื่อการเรียนอยู่ในระดับมาก ได้แก่ รูปแบบของสื่อหลักเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา สื่อเพิ่มเติมและสื่อเสริมมีความสอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน และ (4) ความพึงพอใจต่อขั้นตอนการเรียนอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การสมัครเข้าเรียนมีการจัดกลุ่มโดยอัตโนมัติ การเข้าสู่บทเรียนมีการแสดงรายชื่อนักเรียนที่ออนไลน์ การเข้าสู่เนื้อหาบทเรียนมีอิสระในการเข้าเรียน การเรียนรู้เนื้อหาจากบทเรียนมีการใช้เอกสารประกอบการเรียน การทำกิจกรรมการเรียนมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน การติดต่อสื่อสารไม่จำกัด ในเรื่องของเวลาและสถานที่ การมีปฏิสัมพันธ์โดยบุคลิกภาพของครูช่วยส่งเสริมบรรยากาศการเรียน การเสริมความเข้าใจด้วยการใช้แบบทดสอบก่อนสอบช่วยเสริมความเข้าใจได้ การทำแบบฝึกหัดและแบบฝึกปฏิบัติมีความเหมาะสมกับเนื้อหาที่เรียน การสรุปเนื้อหาทำให้มีความมั่นใจก่อนสอบ และการประเมินผลการเรียนโดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียนช่วยให้นักเรียนทราบพื้นฐานของตนเอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3365
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_128672.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.11 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons