Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3379
Title: | การจัดการการผลิตและการตลาดข้าวของสมาชิกและวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวชุมชนบ้านหนองหว้า อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา |
Other Titles: | Rice production and marketing management of members and community enterprise of Bannongwa Community Rice Mill, Mueang Nakhon Ratchasima District, Nakhon Ratchasima Province |
Authors: | อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา อัจฉรา จิตตลดากร, อาจารย์ที่ปรึกษา สันติ ฟ้าคุ้ม, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ข้าว--การปลูก--ไทย--นครราชสีมา ข้าว--การควบคุมการผลิต ข้าว--การตลาด |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 2) การจัดการการผลิตและการตลาดข้าวเปลือกของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 3) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 4) การจัดการการผลิตและการตลาดข้าวสารของวิสาหกิจชุมชน 5) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค และแนวทางการพัฒนาการผลิตและการตลาดข้าวของวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวชุมชนบ้านหนองหว้า อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.50 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพค้าขาย รายได้ครัวเรือนสูงกว่า 500,000 บาทต่อปี 2) สมาชิกที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่ปลูกข้าวพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 12.50 ไร่ ส่วนใหญ่มีการวางแผนการผลิต ด้านการปฏิบัติการส่วนใหญ่ปลูกข้าวโดยวิธีหว่านน้าตมและใช้น้าชลประทาน ด้านการควบคุมส่วนใหญ่มีการปฏิบัติในบางกิจกรรม ได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 536.00 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตรวม รายได้รวม และกำไรเท่ากับ 4,947.41 6,834.00 และ1,886.59 บาทต่อไร่ตามลำดับ ผลผลิตส่วนใหญ่จำหน่ายให้โรงสีเอกชน ส่วนหนึ่งเก็บไว้บริโภคและทาพันธุ์ 3) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนใช้รูปแบบคุณะกรรมการระดมหุ้นจากสมาชิก และแหล่งทุนอื่น ๆ สมาชิกมีความเห็นว่าคณะกรรมการมีความเสียสละและสมาชิกให้ความร่วมมือดี 4) วิสาหกิจชุมชนรับซื้อผลผลิตข้าวจากสมาชิกมาแปรรูป ได้แก่ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหอมมะลิแดง ให้บริการสีข้าว มีการวางแผนการผลิตและการตลาดข้าวสาร ควบคุมการผลิตและเก็บรักษา มีการควบคุมปริมาณการขายและการผลิตให้สมดุล กำหนดราคาขายต่ำกว่าคู่แข่งและเน้นการขายปลีกแก่ผู้บริโภค 5) จุดแข็งคือผลผลิตมีคุณภาพ ราคาถูก สถานที่จำหน่ายอยู่ในชุมชน จุดอ่อนคือบรรจุภัณฑ์ไม่ทันสมัย พื้นที่เก็บข้าวเปลือกไม่เพียงพอโอกาสคือผู้บริโภคนิยมบริโภคข้าวเพื่อสุขภาพมากขึ้น รัฐและเอกชนสนับสนุน อุปสรรคคือมีคู่แข่งมากและภัยธรรมชาติ แนวทางการพัฒนาการผลิตและการตลาดที่สำคัญคือเน้นปลูกข้าวพันธุ์ที่ตลาดต่องการขอรับรองมาตรฐานการผลิต วิสาหกิจชุมชนควรเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย และหาช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3379 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
147563.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License