Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3381
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวราลักษณ์ ศรแดง, 2523--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-02-16T08:18:15Z-
dc.date.available2023-02-16T08:18:15Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3381-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ และอำนาจการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีการชี้มูลความผิดวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐในประเทศไทย เขตปกครองพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และสิงคโปร์ (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่ และอำนาจการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีการชี้มูลความผิดวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐ (4) เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่ และอำนาจการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีการชี้มูลความผิดวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐ การศึกษาที่เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการค้นคว้าและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาจากแนวคิดทฤษฎีและหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากเอกสาร หนังสือ บทความ ตำรา ผลงานทางวิชาการ วิทยานิพนธ์พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ของประเทศไทย เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และประเทศสิงคโปร์ รวมทั้งข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ และหาข้อสรุป เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) หน้าที่ และอำนาจการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินการก่อนมีคำสั่งลงโทษทางวินัยและการดำเนินการจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความชอบด้วยกฎหมาย (2) สําหรับหน่วยงานปราบปรามการทุจริตในประเทศฮ่องกงและสิงคโปร์ ไม่พบกฎหมายใดบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ไว้ เมื่อเทียบกับกฎหมายในประเทศไทย พบว่า กฎหมายบัญญัติให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจการไต่สวนชี้มูลความผิดวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐ (3) ปัญหาที่พบ คือ การตีความในบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ อำนาจ แนวทางการไต่สวนข้อเท็จจริง และการชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่รัฐของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ยังขาดความชัดเจน ส่งผลให้ยังคงมีการชี้มูลความผิดวินัยในฐานอื่น อันมิใช่ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ (4) ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ ควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 ได้แก่ 1) มาตรา 91 (2) "หากมีมูลความผิดทางวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ส่งรายงาน สํานวนการไต่สวนเอกสารหลักฐาน และคำวินิจฉัยไปยังผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนภายในสามสิบวัน เพื่อให้ดำเนินการทางวินัยต่อไป” 2) มาตรา 98 วรรคหนึ่ง หากเห็นว่าจํานวนการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามมาตรา 91 ดังกล่าว ไม่เข้าข่ายเป็นความผิดทางวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ ให้ถือว่าสำนวนการไต่สวนดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในฝ่ายการเมืองth_TH
dc.subjectข้าราชการพลเรือน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleอำนาจการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีการชี้มูลความผิดวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐth_TH
dc.title.alternativeThe National Anti-Corruption Commission's powers to investigate and adjudicate on charges of malfeasance by civil servantsth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศำสตรมหำบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to study concepts and theories about the National Anti-Corruption Commission (NACC)’s duties and investigative powers; (2)to study laws concerning the NACC’s (or equivalent bodies’) duties and powers to investigate and adjudicate cases of malfeasance by civil servants and other public officials in Thailand, Hong Kong Special Administrative Region of the People’s Republic of China and Singapore; (3)to analyze problems with the NACC’s duties and powers to investigate and adjudicate cases of malfeasance by civil servants and other public officials; (4) to make recommendations for ways to amend problems with the NACC’s duties and powers to investigate and adjudicate cases of malfeasance by civil servants and other public officials. This was a qualitative research done using the method of data searching about relevant legal concepts and principles from documents, books, articles, textbooks, academic reports, theses, the Constitutional Act on the Prevention and Suppression of Corruption 2018, the 2017 Constitution of the Kingdom of Thailand, and other related laws in Thailand, Hong Kong and Singapore, as well as electronic media. The data were analyzed by comparison and drawing conclusions with an aim to suggesting ways to improve current problems. The results showed that (1) the duties and investigative powers of the NACC are steps and methods stipulated in the law that must proceed prior to an order for disciplinary punishment. The procedure must be fair and lawful. (2) In Hong Kong and Singapore, the anti-corruption agencies are not given by law the authority to investigate and adjudicate on accusations, when compared with in Thailand found that: the laws concerning the NACC’s (or equivalent bodies’) duties and powers to investigate and adjudicate cases of malfeasance by civil servants and other public officials has been prescribed in the laws. (3) Problems arise from interpretation of the laws about the NACC’s duties, powers and ways of investigating facts and reaching decisions on accusations of malfeasance by public officials, which still lack clarity. Sometimes civil servants or public officials are prosecuted for other offences that do not fall under the category of malfeasance. (4) The researcher’s main recommendation is to amend the Constitutional Act on the Prevention and Suppression of Corruption 2018 as follows: 1) Clause 91 (2) “If there is ground of malfeasance, the NACC shall submit the report, the record of the investigation, all evidence and its ruling to the wrongdoer’s supervisor, or the person with authority to appoint/dismiss the official, within thirty-one days so that they may take disciplinary action.” 2) Clause 98, Line 1: “If the NACC’s investigative report in Clause 91 is not a case of malfeasance, then that investigative report shall become a part of the disciplinary investigation of the investigating committee under the laws, rules or regulations of the relevant personnel management unit.”en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons