กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3381
ชื่อเรื่อง: อำนาจการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีการชี้มูลความผิดวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The National Anti-Corruption Commission's powers to investigate and adjudicate on charges of malfeasance by civil servants
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
วราลักษณ์ ศรแดง, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในฝ่ายการเมือง
ข้าราชการพลเรือน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ และอำนาจการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีการชี้มูลความผิดวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐในประเทศไทย เขตปกครองพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และสิงคโปร์ (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่ และอำนาจการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีการชี้มูลความผิดวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐ (4) เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่ และอำนาจการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีการชี้มูลความผิดวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐ การศึกษาที่เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการค้นคว้าและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาจากแนวคิดทฤษฎีและหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากเอกสาร หนังสือ บทความ ตำรา ผลงานทางวิชาการ วิทยานิพนธ์พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ของประเทศไทย เขตปกครองพิเศษฮ่องกง และประเทศสิงคโปร์ รวมทั้งข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ และหาข้อสรุป เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) หน้าที่ และอำนาจการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินการก่อนมีคำสั่งลงโทษทางวินัยและการดำเนินการจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความชอบด้วยกฎหมาย (2) สําหรับหน่วยงานปราบปรามการทุจริตในประเทศฮ่องกงและสิงคโปร์ ไม่พบกฎหมายใดบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ไว้ เมื่อเทียบกับกฎหมายในประเทศไทย พบว่า กฎหมายบัญญัติให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจการไต่สวนชี้มูลความผิดวินัยเจ้าหน้าที่ของรัฐ (3) ปัญหาที่พบ คือ การตีความในบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ อำนาจ แนวทางการไต่สวนข้อเท็จจริง และการชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่รัฐของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ยังขาดความชัดเจน ส่งผลให้ยังคงมีการชี้มูลความผิดวินัยในฐานอื่น อันมิใช่ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ (4) ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ ควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 ได้แก่ 1) มาตรา 91 (2) "หากมีมูลความผิดทางวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ส่งรายงาน สํานวนการไต่สวนเอกสารหลักฐาน และคำวินิจฉัยไปยังผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนภายในสามสิบวัน เพื่อให้ดำเนินการทางวินัยต่อไป” 2) มาตรา 98 วรรคหนึ่ง หากเห็นว่าจํานวนการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามมาตรา 91 ดังกล่าว ไม่เข้าข่ายเป็นความผิดทางวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ ให้ถือว่าสำนวนการไต่สวนดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3381
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons