กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3383
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพดีในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of extension pattern for quality rice production in the Upper Northeastern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดาวัลย์ กรรณนุช, อาจารย์ที่ปรึกษา
วุฒินันท์ ไตรยางค์, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าว--การผลิต--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการผลิตข้าวคุณภาพดี 2) เพื่อศึกษากระบวนการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพดี และ3) เพื่อวิเคราะห์และพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพดี ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรที่ได้ใบรับรอง Q ข้าว มีอายุเฉลี่ย 50.29 ปี ส่วนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั่วไป มีอายุเฉลี่ย 49.01 ปี มีปัญหาในด้านการผลิตในภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยมีปัญหาในระดับมาก คือรถรับจ้างเก็บเกี่ยวหายาก อัตราค่าจางแรงงานสูง และราคาผลผลิตตกต่ำ และพึงพอใจในการรับบริการการส่งเสริมการปฏิบัติที่ดีทางการเกษตรสำหรับข้าวในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ประเด็นที่พึงพอใจน้อยที่สุด คือตลาดข้าวคุณภาพ ส่วนเกษตรกรทั่วไปมีปัญหาในระดับมาก คือปุ๋ยมีราคาแพง เกษตรกรทั้งสองกลุ่มไม่มีปัญหาในการนำผลผลิตไปจำหน่าย 2) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีอายุเฉลี่ย 50.50 ปี ประสบการณ์ในการทำงานเฉลี่ย 21.28 ปี ด้านกระบวนการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพดีนั้น พบว่า มีการปฏิบัติในการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพดีแก่เกษตรกรในทุกประเด็นและมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง 3) รูปแบบการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพดีประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐต้องมีความชัดเจนด้านนโยบาย จัดให้มีการประชาสัมพันธ์และฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพิ่มปัจจัยในการปฏิบัติงานให้เพียงพอและทันสมัย เกษตรกรต้องมีแรงจูงใจทำงานี้เป็นกลุ่ม และพื้นที่ไม่กระจัดกระจาย และประเด็นสำคัญที่สุดคือต้องเน้นการพัฒนาระบบตลาด โดยภาครัฐควรร่วมมือกับภาคเอกชน สนับสนุนตลาดข้าวคุณภาพดี แยกออกจากตลาดข้าวทั่วไป เพื่อให้ราคาผลผลิตข้าวที่ได้รับรอง GAP สูงกว่าราคาผลผลิตข้าวทั่วไป นอกจากนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเห็นด้วยกับรูปแบบการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพดีนี้
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3383
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
147951.pdfเอกสารฉบับเต็ม29.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons