Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3385
Title: | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายกับสถานบริการ |
Other Titles: | Legal problems regarding the control and supervision of establishments providing services in a similar manner as entertainment place |
Authors: | สราวุธ ปิติยาศักดิ์ นิรันดร พลภักดี, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี สถานประกอบการ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ สถานเริงรมย์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมกำกับสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายกับสถานบริการ (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมกํากับสถานประกอบการที่จัดตั้งคล้ายสถานบริการของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และเกาหลี (3) ศึกษาปัญหามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมสถานประกอบการที่จัดตั้งคล้ายสถานบริการ (4) เสนอแนวทางในการปัญหามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมสถานประกอบการที่จัดตั้งคล้ายสถานบริการ ศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตำรา หนังสือ และตัวบทกฎหมายของไทย และต่างประเทศ บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานการวิจัย วารสารเอกสารต่าง ๆ บทบัญญัติของประมวลกฎหมาย ตลอดจนคำพิพากษาของศาลและความเห็นของนักนิติศาสตร์ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ นํามาวิเคราะห์เปรียบเทียบและหาข้อสรุปเพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไป ผลการศีกษา พบว่า (1) การดำเนินกิจการในลักษณะที่คล้ายกับสถานบริการต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อขอใบอนุญาตในการประกอบกิจการตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด (2) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย พบว่า เพื่อยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์ และการเปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายสถานบริการ เป็นการปฏิรูป และจัดระเบียบสังคม เพื่อระงับและป้องกันการกระทำอันเป็นผลต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม ตลอดจนการนำผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนกฎหมายมาลงโทษ สำหรับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาที่เกี่ยวข้อง พบว่า เพื่อบรรเทาปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นกับธุรกิจบันเทิงสำหรับผู้ใหญ่ และการออกกฎระเบียบในการจัดการกับผลกระทบของธุรกิจบันเทิงสำหรับผู้ใหญ่ ตลอดจนปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ส่วนกฎหมายของประเทศเกาหลีที่เกี่ยวข้อง พบว่า เพื่อรักษาศีลธรรม และขนบธรรมเนียมทางสังคม และเป็นการปกป้องเด็ก และเยาวชนจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตราย (3) ปัญหามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยที่พบ ได้แก่ 1) การกำหนดคำนิยามและการบังคับใช้พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 มีเนื้อหาที่ล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับรูปแบบหรือลักษณะของสถานประกอบการในปัจจุบัน 2) การกำหนดเขตพื้นที่ตั้งและระยะเวลาเปิด-ปิดของสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะคล้ายกับสถานบริการ ไม่สามารถบังคับใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และเจตนารมณ์ของกฎหมาย 3) พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2500 มิได้มีการบัญญัติหลักเกณฑ์ขั้นตอนและวิธีการเกี่ยวกับกระบวนการตรวจตราสถานบริการไว้โดยเฉพาะ และไม่มีสถานะทางกฎหมาย 4) พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ไม่ได้กําหนดมาตรการ หรือบทลงโทษทางอาญาและโทษทางปกครองแก่ผู้ที่ให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทําความผิดภายใต้การดำเนินกิจการของสถานบริการได้ (4) ข้อเสนอแนวทางที่สำคัญ ได้แก่ 1) ควรนิยามความหมายของคำว่าสถานบริการให้ครอบคลุมรูปแบบและลักษณะความบันเทิงที่จัดขึ้นของสถานประกอบการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน 2) ควรมีการกำหนดใบขออนุญาต และการฝึกเพิกถอนใบอนุญาตเพื่อเป็นการควบคุม และกำหนดพื้นที่ตั้งวันเวลาเปิด-ปิด สถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายกับสถานบริการ 3) ควรมีการตรากฎหมายและกำหนดกระบวนการตรวจสอบ เพื่อเป็นการควบคุมสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายกับสถานบริการให้มีอยู่ในฉบับเดียวกัน 4) ควรกำหนดโทษทางอาญา และโทษทางปกครองแก่ผู้ที่ให้การสนับสนุน หรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3385 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License