Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3386
Title: | การปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนในจังหวัดนครพนม |
Other Titles: | The practice adhering to organic rice production technology of community rice center members in Nakhon Phanom Province |
Authors: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสดา จันทร์ไตร, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ ข้าว--การผลิต--ไทย--นครพนม |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานด้านสงคมเศรษฐกิจของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนในจังหวัดนครพนม (2) ความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ (3) การปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ (4) ความต้องการการส่งเสริมด้านเทคโนโลยีและการตลาดข้าวอินทรีย์ และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตข้าวอินทรีย์ของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนในจังหวัดนครพนม ผลการวิจัยพบว่า (1) สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49.66 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์การทำนาเฉลี่ย 24.32 ปี มากกว่าครึ่งสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนใหญ่เคยได้รับการฝึกอบรมสัมมนาหรือศึกษาดูงานเกี่ยวกับการผลิตข้าวอินทรีย์ มีแรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 3.06 คน มีพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 5.26 ไร่ และเกือบทั้งหมดใช้เงินทุนจากการกู้ยืม ธ.ก.ส. (2) สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนส่วนใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก โดยสมาชิกมีความรู้ความเข้าใจมากที่สุดในประเด็นด้านการควบคุมวัชพืช และมีความรู้ความเข้าใจน้อยที่สุดในประเด็นวิธีการปลูก (3) สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ในระดับมาก โดยสมาชิกมีการปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์เฉลี่ยจากมากไปหาน้อยในประเด็นการเตรียมดิน การเลือกพันธุ์ข้าว การเก็บรักษาผลผลิตการเตรียมเมล็ดันธุ์ การบรรจุและหีบห่อการจัดการนำ ระบบการปลูก การเก็บเกี่ยวลดความชื้นและการนวด การควบคุมวัชพืช การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช การใส่ปุ๋ย การเลือกพื้นที่ปลูก วิธีปลูก การจัดการดิน และการใช้อินทรียวัตถุบางอย่างเพื่อทดแทนปุ๋ยเคมี ตามลำดับ (4) สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนเกือบทั้งหมดมีความต้องการการส่งเสริมด้านเทคโนโลยีและการตลาดข้าวอินทรีย์ในระดับปานกลาง โดยในด้านเทคโนโลยีการผลิตสมาชิกมีความต้องการการส่งเสริมเฉลี่ยสูงสุด ในประเด็นการเลือกใช้พันธุ์ข้าว เฉลี่ยต่ำสุดในประเด็น การเตรียมดิน การเลือกพื้นที่ปลูก และวิธีการปลูก ด้านการตลาดสมาชิกมีความต้องการการส่งเสริมเฉลี่ยสูงสุดในประเด็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเฉลี่ยต่ำสุดในประเด็นการปรับปรุงสถานที่ค้าขาย และประเด็นการส่งเสริมการขาย (5) สมาชิกส่วนใหญ่เห็นว่าการปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ของตนเองไม่มีปัญหา ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่ควรให้ความรู้เรื่องพันธุ์ข้าว การจัดการดิน การป้องกันและการวินิจฉัยโรคพืช ควรมีการฝึกอบรมเพิ่มีทักษะความชำนาญด้านการบรรจุภัณฑ์ และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3386 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
147965.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License