Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3413
Title: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จังหวัดบุรีรัมย์
Other Titles: Information technology utilization in agricultural extension work by agricultural extensionists in Buri Ram Province
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิญพร ต้นเกตุ, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
เทคโนโลยีสารสนเทศ
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--บุรีรัมย์
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทางสังคม เศรษฐกิจ 2) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตร และ4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประชากรที่ศึกษาคือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอและจังหวัด จำนวน 185คนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 126 คนได้จากการกำหนดขนาดตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane (1973) เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นด้านระดับความสามารถในการใช้เทคโนโลยี = 0.8190 และความเชื่อมั่นด้านระดับความรู้ที่ได้เรื่องเทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศ = 0.9380 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลทางสังคม เศรษฐกิจ กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45.90 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีเงินเดือนเฉลี่ย 28,597.22 บาท ประสบการณ์ใช้คอมพิวเตอร์เฉลี่ย 9.19 ปี 2) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมมีความรู้เรื่องโปรแกรมสำเร็จรูปด้าน GIS อยู่ในระดับน้อย ส่วนโปรแกรมสำเร็จรูปหน่วยงานส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ โปรแกรมทะเบียนเกษตรกร และโปรแกรมทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจอยู่ในระดับมาก 3) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรโดยรวมใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและเก็บข้อมูลทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ ส่วนใช้ในการติดต่อสื่อสาร โดยส่วนใหญ่ ใช้ในการรับ - ส่ง E-mail ใช้งาน Line ใช้งาน Facebookะ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่า ระบบโปรแกรมการใช้งานล่มบ่อย การประมวลผลการใช้งานโปรแกรมค่อนข้างล่าช้า ข้อเสนอแนะพบว่า คอมพิวเตอร์และปริ๊นเตอร์ควรจัดสรรให้เท่ากับผู้ใช้งานจริง รองลงมา ควรมีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสามารถตอบข้อซักถาม และแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ได้
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3413
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
147971.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.32 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons