Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3419
Title: | การผลิตพริกกะเหรี่ยงโดยใช้การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพริกของเกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอน |
Other Titles: | Karen chili production adhering to good agricultural practice by farmers in Mae Hong Son Province |
Authors: | บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา สุภาพร ศรีวิชัย, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ พริกกะเหรี่ยง--การปลูก |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทั่วไปสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ผลิตพริกกะเหรี่ยง (2) สภาพการผลิตพริกกะเหรี่ยงของเกษตรกร (3) ความรู้ของเกษตรกรในการผลิตพริกกะเหรี่ยง (4) ระดับการยอมรับของเกษตรกรในเชิงปฏิบัติและเชิงความคิดเห็นของการผลิตพริกกะเหรี่ยงโดยใช้การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตพริกกะเหรี่ยงโดยใช้การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรที่ให้สัมภาษณ์ส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 36.62 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.99 คน พื้นที่ปลูกพริกกะเหรี่ยงเฉลี่ย 7.45 ไร่ รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ย 78,727.10 บาทต่อปี แรงงานในการปลูกพริกเฉลี่ย 4.17 คน ประสบการณ์ในการปลูกพริกกะเหรี่ยงเฉลี่ย 15.62 ปี (2) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพริกกะเหรี่ยงในที่ราบเชิงเขา ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ไม่มีการปรับปรุงดินก่อนการปลูก แหล่งเมล็ดพันธุ์ทั้งหมดใช้เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้เอง โดยไม่มีการทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์กุ่อนการปลูก ด้านแหล่งน้ำเกษตรกรใช้น้ำฝนอย่างเดียว ปลูกโดยวิธีหว่านเมล็ดทั้งหมด การกำจัดวัชพืช ใช้แรงงานคนและมีบางส่วนใช้สารเคมีร่วมด้วย ผลผลิตเฉลี่ย 203.10 กิโลกรัม สถานที่จำหน่ายผลผลิตส่วนใหญ่มีพ่อค้าในพื้นที่รับซื้อ (3) เกษตรกรร้อยละ 64.7 มีความรู้อยู่ในระดับมาก การได้รับความรู้และข้อมูลทางการเกษตรที่เป็นแบบกลุ่มในระดับมากที่สุด (4) การยอมรับเกษตรดีที่เหมาะสม พบว่า ส่วนใหญ่การยอมรับในชิงความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก ส่วนการยอมรับเชิงปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (5) เกษตรกรพบปัญหาในระดับมากที่สุดอยู่ 2 ประเด็นคือเกษตรกรขาดความรู้เรื่องการป้องกันกำจัดศัตรูพืช และเกษตรกรขาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการตากพริก โดยข้อเสนอแนะของเกษตรกรคือ ต้องการการสนับสนุนปัจจัยการผลิตที่ดีมีคุณภาพ การถ่ายทอดความรู้ด้านการเก็บเมล็ดพันธุ์ การจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูปและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และต้องการให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรติดตามการดำเนินงานการปลูกพริกอย่างต่อเนื่อง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3419 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
148015.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License