กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3433
ชื่อเรื่อง: การยอมรับเทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรกรในอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Adoption of technology for reducing rice production cost by farmers in Nong Ya Sai District, Suphan Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจวรรณ คงคา, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
การควบคุมต้นทุนการผลิต
ข้าว--การผลิต
ต้นทุนการผลิต--การควบคุม
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าว 3) ระดับการยอมรับเทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าว ตามแนวคิด 3 ลด 1 เพิ่ม 2 ปฏิบัติของเกษตรกร 4) ปัญหา และข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 48.43 ปี จบประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 21.24 ปี มีแรงงานในการผลิตข้าวเฉลี่ย 2.19 คน มีพื้นปลูกข้าวนาปีเฉลี่ย 21.06 ไร่ นาปรังเฉลี่ย 14.41 ไร่ ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 858.50 กิโลกรัม ราคาจำหน่ายเฉลี่ย 8,190.84 บาทต่อตัน มีรายได้หลังหักรายจ่ายแล้ว เฉลี่ย 3,656.18 บาทต่อไร่ มีรายจ่ายในการผลิตข้าวก่อนเข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 4,143.00 บาทต่อไร่ หลังเข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 3,298.67 บาทต่อไร่ 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการลดต้นทุนเฉลี่ยในระดับมาก ดังนี้ (1) ด้าน 3 ลด มีความรู้ระดับมาก ได้แก่ เรื่องการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์เหมาะสม ตรงตามพันธุ์ เรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นเวลานานทำให้ดินอัดแน่นพืชไม่เจริญเติบโต และเรื่องชวงเวลาการฉีดพ่นสารเคมีที่เหมาะสม (2) ด้าน 1 เพิ่ม มีความรู้ระดับมากในเรื่องการจัดการฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยว (3) ด้าน 2 ปฏิบัติ มีความรู้ระดับมาก ได้แก่ เรื่องการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงก่อให้เกิดผลดีต่อตนเองและครอบครัวและเรื่องการทำบัญชีช่วยให้รู้รายรับ-รายจ่ายในการทำการเกษตร โดยแหล่งความรู้ที่ได้รับในระดับมากมาจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 3) ระดับการยอมรับเทคโนโลยี เกษตรกรมีระดับการยอมรับ ดังนี้ (1) ด้าน 3 ลด ยอมรับระดับมาก ได้แก่ เรื่องเมล็ดันธุ์ข้าวที่ใช้ควรมีความบริสุทธิ์และมีคุณภาพดี เรื่องการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในระยะเตรียมดินและการใช้ฮอร์โมนน้าหมักชีวภาพควบคู่กับการใช้ปุ๋ยเคมี และเรื่องการใช้วิธีกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน (2) ด้าน 1 เพิ่ม ยอมรับระดับมาก เรื่องการจัดการฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยว (3) ด้าน 2 ปฏิบัติ ยอมรับระดับมาก เรื่องการใช้คุณธรรมนำความรู้เป็นหลักในการทำการเกษตร และการจัดบันทึกการปลูกข้าวทุกขั้นตอนการผลิต 4) เกษตรกรมีปัญหาระดับมาก เรื่องการเก็บตัวอย่างดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และวิธีการฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ เกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้จัดอบรมเรื่องการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการใช้สารชีวภัณฑ์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3433
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148073.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons