Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/346
Title: | การทำเหมืองข้อมูลสำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ กรณีศึกษาเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง |
Other Titles: | Data mining for website development : a case of Rajamangala University of Technology Lanna Lampang website |
Authors: | สำรวย กมลายุตต์ อภิชาติ ปัญญา, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ดวงดาว วิชาดากุล |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์ ดาต้าไมนิง การพัฒนาเว็บไซต์ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | งานวิจัยนี้นําเสนอการทําเหมืองข้อมูลสําหรับการพัฒนาเว็บไซต์กรณีศึกษาเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลําปาง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างคลังข้อมูลการเข้าใช้งานเว็บไซต์ 2) ทําเหมืองข้อมูลวิเคราะห์จําแนกกลุ่มการใช้งานเว็บไซต์โดยใช้อัลกอริทึมการจัดกลุ่ม 3) ทําเหมืองข้อมูลพยากรณ์จํานวนผู้ใช้งานเว็บไซต์โดยใช้อัลกอริทึมอนุกรมเวลา 4) ทําเหมืองข้อมูลวิเคราะห์หน้าเว็บที่มีความเกี่ยวข้องกันโดยใช้อัลกอริทึมกฏความสัมพันธ์ 5) ทําเหมืองข้อมูลวิเคราะห์ จําแนกกลุ่มการใช้งานเว็บไซต์โดยใช้อัลกอริทึมการจัดกลุ่มโดยใช้ลําดับเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ โปรแกรม SQL Server 2008 และ SQL Service Analysis กระบวนการเริ่มจากการรวบรวมล็อกไฟล์การเข้าใช้งานเว็บไซต์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม 2556 และข้อมูลเว็บไซต์หน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยฯ มาสร้างคลังข้อมูลด้วยกระบวนการอีทีแอล จากนั้นนําข้อมูลจากคลังข้อมูลมาสร้างคิวบ์เพื่อนําเสนอรายงานจากการประมวลผลข้อมูลเชิงวิเคราะห์หรือโอแลป และนําข้อมูลจากคลังข้อมูลมาทําเหมืองข้อมูลโดยใช้แบบจําลองคริสพ์-ดีเอ็ม ซึ่งเทคนิคการทําเหมืองข้อมูลประกอบด้วย 4 อัลกอริทึม ได้แก่ 1) การจัดกลุ่ม 2) อนุกรมเวลา 3) กฏความสัมพันธ์ 4) การจัดกลุ่มโดยใช้ลําดับ ผลการวิจัยที่ได้คือคลังข้อมูลจากล็อกไฟล์การเข้าใช้งานเว็บไซต์มหาวิทยาลัยฯ ที่ใช้โครงสร้างแบบสโนว์เฟลค และผลจากการทําเหมืองข้อมูลพบว่าการจัดกลุ่มของการเข้าใช้เว็บไซต์แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม อนุกรมเวลาทําให้สามารถพยากรณ์ปริมาณผู้ใช้บริการเว็บไซต์ได้ส่วนกฎความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด 16 กฎ และการจัดกลุ่มโดยใช้ลําดับ พบว่าจัดกลุ่มออกเป็น 66 กลุ่มซึ่ง กลุ่มที่น่าสนใจมีทั้งหมด 6 กลุ่ม การทําเหมืองข้อมูลสามารถทําให้ได้องค์ความรู้ใหม่ ซึ่งสามารถนํามาใช้ในการวางแผนพัฒนาปรับปรุงและดูแลเว็บไซต์ได้และยังสามารถทําให้ผู้บริหารได้รับรายงานหลายมิติที่สามารถนํามาประกอบการตัดสินใจ เพื่อประโยชน์ในการบริหารเว็บได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/346 |
Appears in Collections: | Science Tech - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_145410.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License