Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3493
Title: มาตรการทางกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่กรณีความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐ
Other Titles: Legal measures under the law on liability for wrongful act of officials in case of wrong or fault of the government agencies
Authors: สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐกร เพ็งนรพัฒน์, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความรับผิดของราชการ--ไทย
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--ละเมิด
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการสำคัญของความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของต่างประเทศ (2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการสำคัญของความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาความรับผิดของความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวม และ (4) เสนอแนวทางในการวินิจฉัยความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมและกำหนดสัดส่วนความรับผิดของหน่วยงานของรัฐ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยเอกสาร จากตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด วิทยานิพนธ์ และบทความทางกฎหมาย โดยอาศัยทฤษฎี แนวคิดหลักกฎหมายและหลักการที่เกี่ยวข้อง เป็นกรอบและแนวทางในการเปรียบเทียบและอธิบาย พร้อมเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาพบว่า (1) หลักความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของต่างประเทศมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติหน้าที่หรือบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเต็มที่ และมีการพัฒนาหลักความรับผิดของรัฐให้ร่วมกับความรับผิดของเจ้าหน้าที่ ที่เรียกว่าการกระทำความผิดร่วม เพราะการละเมิดเกิดจากการกระทำของทั้งหน่วยงานและของเจ้าหน้าที่ โดยไม่อาจแยกจากกันได้ (2) ในระบบกฎหมายของประเทศไทย ยึดเอาหลักกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของฝรั่งเศสมาปรับใช้โดยตราเป็นพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ขึ้นและได้นำแนวคิด “ความผิดของรัฐ” มาบังคับใช้ โดยปรากฏอยู่ในมาตรา 8 วรรคสาม และศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้เท่าที่ ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติ ความรับผิดของรัฐกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในผลแห่งละเมิด จึงเป็นไปในรูปแบบ “ร่วมกันรับผิด” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 เป็นความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด (3) ปัญหาการตีความของถ้อยคำกฎหมาย ตามมาตรา 8 วรรคสาม เนื่องจากกฎหมายบัญญัติไว้อย่างกว้าง จึงเกิดความไม่ชัดเจนต่อผู้ใช้กฎหมายในการวินิจฉัยความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐและกำหนดสัดส่วนความรับผิด และ (4) ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะให้มีการวางหลักกรณีที่ถือว่ารัฐมีส่วนผิดหรือบกพร่องก่อให้เกิดการละเมิด โดยรวบรวมคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐในลักษณะต่างๆ เป็นหลักเกณฑ์แนวทางประกอบการพิจารณาวินิจฉัย และแบ่งกลุ่มความผิดหรือความบกพร่องเป็นประเภทร้ายแรงและไม่ร้ายแรง เพื่อเป็นเกณฑ์ในการกำหนดสัดส่วนความรับผิดของความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3493
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons