Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3494
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สิริพันธ์ พลรบ | th_TH |
dc.contributor.author | ณัฏฐวัฒน์ วงศ์ใยมูล, 2527- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-02-25T06:19:53Z | - |
dc.date.available | 2023-02-25T06:19:53Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3494 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิดการกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนตำบลของนายอำเภอโดยการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (2) ปัญหาและเงื่อนไขที่นำมาสู่การยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (3) กลไก กระบวนการทางกฎหมายในการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และ (4) แนวทางในการกำหนดรูปแบบ การกำกับดูแลสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขในการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาค้นคว้าถึงแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอำนาจกำกับดูแลสภาองค์การบริหารส่วนตำบลของนายอำเภอแล้ว การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยวิธีการวิจัยทางเอกสาร (documentary research) ด้วยการค้นคว้าวารสารกฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการกำกับดูแลสภาองค์การบริหารส่วนตำบลของนายอำเภอ โดยการยุบสภาที่พบเกิดจากที่พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ไม่ได้บัญญัติรายละเอียดหรือขอบเขตการใช้อำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 คือ (1) มาตรา 91 ให้อำนาจนายอำเภออาจเสนอให้ยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้ ด้วยเหตุผลที่วางเป็นเกณฑ์กว้างๆ เพียงข้อเดียวว่าให้ยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่าเป็นการเปิดโอกาสให้นายอำเภอใช้ดุลพินิจมากเกินไป (2) มาตรา 91 ไม่ได้บัญญัติขั้นตอน วิธีการ และระยะเวลาการพิจารณายุบสภาไว้ (3) มาตรา 91 บัญญัติกำหนดระยะเวลาให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายหลังการยุบสภาไม่สอดคล้องกับระยะเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดไว้ ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้เสนอแนะว่า (1) เห็นควรให้บัญญัติเหตุแห่งการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลให้ชัดเจน โดยให้ยุบสภาในกรณีเกิดความขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายสภา กรณีที่สภาใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือกระทำการขัดต่อกฎหมาย (2) เห็นควรบัญญัติขั้นตอนและระยะเวลาการพิจารณายุบสภาที่ชัดเจน (3) เห็นควรแก้ไขระยะเวลาการจัดการเลือกตั้งใหม่ให้สอดคล้องกับกฎหมายการเลือกตั้ง | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร | th_TH |
dc.title | การกำกับดูแลสภาองค์การบริหารส่วนตำบลของนายอำเภอโดยการยุบสภา | th_TH |
dc.title.alternative | District chief officer's supervision of Sub-district administrative organization assembly (SAOA) by assembly dissolution | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This independent study on district chief officer’s supervision of the SAOA by assembly dissolution aims to study: 1) concepts of supervision of district chief officers by dissolving the SAOA; 2) difficulties and conditions leading to dissolution of the SAOA; 3) legal mechanisms and procedures of SAOA dissolution; and 4) appropriate ways of administrate and supervise the SAOA and determine criteria and conditions of SAOA dissolution. The author studied concepts and theories of SAOA supervision and dissolution, laws related to supervising power of the SAOA. This independent study is a qualitative and documentary research on textbooks on laws, provisions, judgments, consultations and Thai and foreign researches and documents. The study found that problems of SAOA supervision of district chief officers by dissolution were due to ambiguity and vagueness of the Sub-district Assembly and Sub-district Administrative Organization Assembly Act, B.E. 2537, name as, details and scope of power of the district chief officer were not stipulated in section 91. This can be illustrated for many reasons. Firstly, according to Section 91, the district chief officer is authorized to dissolve the SAOA in order to protect the public’s or the country’s interests. The author finds that this gives too much power to the district chief officer. Secondly, Section 91 does not provide steps, methods and duration of SAOA dissolution consideration. Thirdly, Section 91 provides duration of reelection after the dissolution that is not consistent with that stated by the Election Committee. Therefore, the author offers suggestions as follows. First, the provision on SAOA dissolution should be clearly stated: the Assembly dissolution can be occurred in case of conflicts between the management and the Assembly or the Assembly misuses its power or commits illegal offenses. Second, there should be a provision on clear procedure and duration of SAOA dissolution consideration. Third, reelection duration should be amended to make it compliant with laws on election. | en_US |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License